ทองในน้ำปลากัดทองปี 2549กว่าจะเป็นปลากัดสีทอง

betta
ทองในน้ำปลากัดทองปี 2549กว่าจะเป็นปลากัดสีทอง
Jun 16, 2019
byแอดหมี

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549

ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง

สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549

ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม
ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS
ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย
ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS
 

ปลากัดทอง
ปลากัดทอง

*** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ

แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ

Tag
ปลากัดปลากัดทองbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?

betta Aug 22, 2019

กระแสปลากัดปีนี้ต้องยอมให้ ปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ จริงๆ แรงตั้งแต่ต้นปี (ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท)จนตอนนี้ไตรมาสที่3ของปีก็ยังแรงต่อเนื่อง ใต้หวอดเคยนำเสนอการประมูลปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ ตอนต้นปีไปแล้วที่ปิดไป20,100บาท ตอนนี้มีสถิติใหม่ของปีนี้และของปลากัดโค่ยกาแล็คซี่แล้วครับพี่น้องชาวปลากัด  โดยปิดไปที่25,530บาท ปลากัดไทยไม่ธรรมดาจริงๆ เป็นที่ฮือฮาในแวดวงปลากัดทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก แต่สถิติปลากัดที่แพงที่สุดในโลกก็ยังเป็นของเจ้าไตรรงค์ หรือ ปลากัดลายธงชาติ ยังไม่มีใครทำลายตัวเลขนี้ลงไปได้นะจ๊ะ   ปลากัด ท้องบวม   ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม ขอบคุณเจ้าของภาพและปลา คุณ วรเวทย์ ตันวิสุทธิ์

betta Sep 24, 2019

เรามาเริ่มศึกษาปลากัดกันเลย กับบทความ10คำถามเรื่องการเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้เริ่มเต้น 1. วิธีสังเกตุเพศปลากัด ? A : มือใหม่หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่าปลากัดตัวผู้ตัวเมียแยกยังไง สมัยที่ผมพึ่งหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เอาละผมจะอธิบายแบบสั้นๆและเข้าใจง่าย ปลากัดตัวเมียท้องจะใหญ่กว่าตัวเมียและจะมีจุดขาวยื่นออกมาใต้ท้องปลา เรียกว่าไข่นำ และครีม หาง จะเล็กกว่าตัวเมีย  สำหรับตัวผู้นั้นจะมีครีม หาง ที่ใหญ่สง่ากว่าอย่างเห็นได้ชัด วิธีดูปลากัด ตัวเมีย กดเลย   2. กี่วันเปลี่ยนน้ำปลากัด ? A : โดยปกติประมาณ3วันถ้าไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำหมัก แต่ถ้าใช้น้ำหมักเลี้ยงปลาก็จะประมาณ5-7วัน   3.อาหารอนุบาลปลากัด ? A : ถ้าอยากให้รอดเยอะแนะนะเป็นพวกอาหารสดครับ ไรแดง.อาร์ทีเมียเป่า ส่วนอาหารผงไม่แนะนำครับ ยังไงก็สู้อาหารสดไม่ได้แน่นอนครับ ไม่มีฟาร์มที่ไหนใช้อาหารผงอนุบาลปลาอันนี้ไปสืบมาหลายสำนักแล้ว 4.ปลากัดกินอาหารแบบไหน ? A : สำปรับปลากัดที่โตเต็มวัยความยุ่งยากเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเหมือนการอนุบาลปลากัด อาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดก็สามารถหาซื้อให้ปลากินได้อาจจะสลับกับอาหารสดบ้าง เช่น ไรแดง,อาร์ทีเมีย,ลูกน้ำ,หนอนแดง,ไส้เดือนน้ำ ปลาจะได้ไม่เบื่อ ก็เหมือนกับคนจะกินอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวก็คงเบื่อแย่และก็ไม่มีต่อสุขภาพด้วย ปลาก็เหมือนกัน ใจเขาใจเรา   5.หลังจากได้ไข่แล้วทำยังไงต่อ ? A : หลังจากปลารัดกันและได้ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ไปอยู่นอกหวอด รอสักดึกๆประมาณ3-4ทุ่มก็ช้อนตัวเมียออกแบบนิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจ สงสัยไหมว่าทำไมต้องรอดึกๆ เพราะตอนดึกปลาจะหลับแล้วเราก็ใช้วิธีลักตัวเมียออกเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจนั้นเอง ตัวผู้บางตัวเขาเซนซิทีฟต่อเรื่องพวกนี้ตกใจหน่อยกินไข่เรียบนะครับ และหลังจากลูกปลาฝักจากไข่เป็นตัวแล้วนับต่อไปอีกประมาณ4-7วัน สังเกตุลูกค้าถ้าดูลูกปลาเริ่มแข็งแรง  ก็เอาไปเทลงบ่อใหญ่แล้วค่อยให้อาหารอนุบาลลูกปลาครั้งแรกดูจากข้อ3    6.วิธีสังเกตุไข่ปลากัดในหวอด ? A : ไข่ปลากัดที่เป็นเม็ดขาวๆเหมือนเม็ดสาคูจับกลุ่มรวมกันภายในหวอด สำหรับมือใหม่อาจจะสังเกตุยากหน่อยนะครับ แรกๆก็แบบนี้หลังๆเริ่มชำนาญก็จะแยกออกได้ง่าย    7.แหล่งซื้อขายอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ? A : แหล่งใหญ่ๆก็จะมีตลาดจตุจักรกับสนามหลวง2 มีครบครับทั้งอุปกรณ์ อาหาร ยา โหล ปลากัดสวยๆ   8.เว็บประมูลปลากัด ? A : ตามfacebook ปัจจุบันมีหลายเพจมากครับ ก็ลองเลือกเอาตามใจชอบได้เลย เพจประมูลปลากัด    9.น้ำหมักปลากัด ? A : น้ำหมักปลากัดคือการนำเอาสีเสียดฝอย หรือใบหูกวางแห้งมาทำการหมักเพื่อในน้ำที่ได้จากการหมักไปใช้เลี้ยงปลา ทำไมต้องน้ำหมัก เพราะสีเสียดหรือใบหูกวางแห้งจะมีสารเทนนินทีไ่ด้จากการหมัก ซึ่งสารเทนนินตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งแบททีเรีย ทำให้น้ำเสียช้าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาจะคึกคักเป็นพิเศษ และยังทำให้หวอดของปลาเหนียวขึ้นอีกด้วย ไม่เชื่อก็ลองดูครับไม่ได้อวยแต่คนเลี้ยงปลากัดแถบทุกคนจะรู้จักสรรพคุณน้ำหมักดี ต้องลองแล้วจะรู้ว่าดีจริง   10.ปลากัดเลี้ยงรวมได้ไหม ? A : ได้ครับ แต่เป็นเป็นสถานที่กว้างและมีพืชน้ำเยอะหน่อยเพื่อให้ปลาได้มีที่ว่ายไล่กันและหลบซ่อนตัว เวลาวิ่งไล่จับกันเหนื่อยแล้ว  credit รูปจาก Phon Betta

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย