ทองในน้ำปลากัดทองปี 2549กว่าจะเป็นปลากัดสีทอง

betta
ทองในน้ำปลากัดทองปี 2549กว่าจะเป็นปลากัดสีทอง
Jun 16, 2019
byแอดหมี

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549

ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง

สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549

ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม
ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS
ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย
ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS
 

ปลากัดทอง
ปลากัดทอง

*** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ

แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ

Tag
ปลากัดปลากัดทองbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง

betta Jun 26, 2019

ต้นปี2019 วงการปลากัดก็มีเรื่องให้ดีใจและตื่นเต้นพร้อมๆกันเลย หลังจาก ครม.ประกาสอย่างเป็นทางการให้ปลากัดเป็น"สัตว์น้ำประจำชาติ"ไปเรียบร้อย ก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นต่อเลย เพจประมูลปลากัด PlakadThai Group มีปลากัดไทยปิดประมูลไปที่ 20,100บาท โอ้วโห!!! สุดยอดไปเลย แค่ต้นปีก็จัดกันโหดมากๆ ใต้หวอดจะพาไปชมว่าปลากัด เจ้าของราคา 20,100บาท นั้นจะสวยงามแค่ไหน ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท สวยงามใช่ไหมละครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจะพัฒนาปลากัดให้สีสันสวยงามมาไกลถึงเพียงนี้ สุดยอดไปเลยครับ ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของปลาและผู้ประมูลปลากัดได้ด้วยครับ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณ May Betta Farm 

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด

betta Nov 14, 2022

 อาร์ทีเมีย หรือ ไรทะเล  ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย  อาร์ทีเมีย ที่นี้เราพอจะรู้กันแล้วนะว่าอาร์ทีเมียคืออะไรหน้าตาเป็นยังไง ก็จะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย วิธีเป่า อาร์ทีเมีย อาหารอนุบาลลูกปลากัด เรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน 1.ไข่อาร์ทีเมีย (แนะนำเป็นยี่ห้อนกอินทรีย์ ไม่เคยเป่ามาก่อนก็ทำได้ฝักจริง) 2.เกลือสมุทร 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ1ลิตร โดยประมาณ 3.ชุดเป่าอาร์ทีเมีย(ขวดน้ำประมาณ1ลิตร,สายอ๊อกซิเจน,เครื่องอ๊อกซิเจน,วาวปรับละดับความแรงอ๊อกซิเจน) 4.กระชอนแยกเปลือกไข่ 5.อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเป่าไรแดงประมาณ25-30 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่1 ประกอบชุดเป่าอาร์เสร็จแล้วก็จัดการเปิดเครื่องได้เลย ใส่เกลือ2หยิบมือ กับไข่อาร์ทีเมีย1ช้อนชา เป่าทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ชุดเป่า ขั้นตอนที่2 หลังจากเป่าอาร์ทีเมียจนครบ24ชั่วโมงแล้วเราก็เอามาเทใส่กระชอนเพื่อล้างและแยกตัวอ่อนอาร์ทีเมียออกจากเปลือก ทีนี้เราก็จะได้อาร์เมียเอาไว้อนุบาลลูกปลากันแล้ว ง่ายๆแค่2ขั้นตอน ลองทำกันดูนะครับไม่ยาดอย่างที่คิดจริงๆ แค่ลงทุนกับไข่อาร์ทีเมียเกรดดีๆหน่อยรับรองฝีก90% ไม่ต้องไปง้อลูกไรแล้ว อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ ข้อดีของการเป่าอาร์ทีเมีย - สะอาดไม่มีเชื้อโรค100%  - ถึงจะหน้าฝนก็มีอาหารอนุบาลลูกปลา ข้อเสียของการเป่าอาร์ทีเมีย -ราคาสูงไม่เหมาะกับฟาร์มปลากัด ฟาร์มปลาจะนิยมให้ไรแดงมากกว่า -เสียเวลาในการเป่า24ชั่วโมงขึ้นไป <<<< ต้องการสั่งซื้อ อาร์ทีเมีย  >>>>