ปลากัดป่า ปลาพื้นเมืองในประเทศไทย

betta
ปลากัดป่า ปลาพื้นเมืองในประเทศไทย
Aug 6, 2019
by

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย

ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง)
พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ)

history betta
ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)
history betta
ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)
history betta
แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)

ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง 
-ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ
-แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด
-เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้
-ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง

 

2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู)
พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม)
-เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น

3.ปลากัดป่าภาคใต้
พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้
-
ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์"

4.ปลากัดป่ามหาชัย

history betta
ปลากัดป่าภาคตะวันออก


พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที)
ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง
-เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม
-เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก
-ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง

5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก
พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง

history betta
ปลากัดป่าภาคตะวันออก

ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก
-ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์" 

ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta

 

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 24, 2019

เรามาเริ่มศึกษาปลากัดกันเลย กับบทความ10คำถามเรื่องการเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้เริ่มเต้น 1. วิธีสังเกตุเพศปลากัด ? A : มือใหม่หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่าปลากัดตัวผู้ตัวเมียแยกยังไง สมัยที่ผมพึ่งหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เอาละผมจะอธิบายแบบสั้นๆและเข้าใจง่าย ปลากัดตัวเมียท้องจะใหญ่กว่าตัวเมียและจะมีจุดขาวยื่นออกมาใต้ท้องปลา เรียกว่าไข่นำ และครีม หาง จะเล็กกว่าตัวเมีย  สำหรับตัวผู้นั้นจะมีครีม หาง ที่ใหญ่สง่ากว่าอย่างเห็นได้ชัด วิธีดูปลากัด ตัวเมีย กดเลย   2. กี่วันเปลี่ยนน้ำปลากัด ? A : โดยปกติประมาณ3วันถ้าไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำหมัก แต่ถ้าใช้น้ำหมักเลี้ยงปลาก็จะประมาณ5-7วัน   3.อาหารอนุบาลปลากัด ? A : ถ้าอยากให้รอดเยอะแนะนะเป็นพวกอาหารสดครับ ไรแดง.อาร์ทีเมียเป่า ส่วนอาหารผงไม่แนะนำครับ ยังไงก็สู้อาหารสดไม่ได้แน่นอนครับ ไม่มีฟาร์มที่ไหนใช้อาหารผงอนุบาลปลาอันนี้ไปสืบมาหลายสำนักแล้ว 4.ปลากัดกินอาหารแบบไหน ? A : สำปรับปลากัดที่โตเต็มวัยความยุ่งยากเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเหมือนการอนุบาลปลากัด อาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดก็สามารถหาซื้อให้ปลากินได้อาจจะสลับกับอาหารสดบ้าง เช่น ไรแดง,อาร์ทีเมีย,ลูกน้ำ,หนอนแดง,ไส้เดือนน้ำ ปลาจะได้ไม่เบื่อ ก็เหมือนกับคนจะกินอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวก็คงเบื่อแย่และก็ไม่มีต่อสุขภาพด้วย ปลาก็เหมือนกัน ใจเขาใจเรา   5.หลังจากได้ไข่แล้วทำยังไงต่อ ? A : หลังจากปลารัดกันและได้ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ไปอยู่นอกหวอด รอสักดึกๆประมาณ3-4ทุ่มก็ช้อนตัวเมียออกแบบนิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจ สงสัยไหมว่าทำไมต้องรอดึกๆ เพราะตอนดึกปลาจะหลับแล้วเราก็ใช้วิธีลักตัวเมียออกเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจนั้นเอง ตัวผู้บางตัวเขาเซนซิทีฟต่อเรื่องพวกนี้ตกใจหน่อยกินไข่เรียบนะครับ และหลังจากลูกปลาฝักจากไข่เป็นตัวแล้วนับต่อไปอีกประมาณ4-7วัน สังเกตุลูกค้าถ้าดูลูกปลาเริ่มแข็งแรง  ก็เอาไปเทลงบ่อใหญ่แล้วค่อยให้อาหารอนุบาลลูกปลาครั้งแรกดูจากข้อ3    6.วิธีสังเกตุไข่ปลากัดในหวอด ? A : ไข่ปลากัดที่เป็นเม็ดขาวๆเหมือนเม็ดสาคูจับกลุ่มรวมกันภายในหวอด สำหรับมือใหม่อาจจะสังเกตุยากหน่อยนะครับ แรกๆก็แบบนี้หลังๆเริ่มชำนาญก็จะแยกออกได้ง่าย    7.แหล่งซื้อขายอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ? A : แหล่งใหญ่ๆก็จะมีตลาดจตุจักรกับสนามหลวง2 มีครบครับทั้งอุปกรณ์ อาหาร ยา โหล ปลากัดสวยๆ   8.เว็บประมูลปลากัด ? A : ตามfacebook ปัจจุบันมีหลายเพจมากครับ ก็ลองเลือกเอาตามใจชอบได้เลย เพจประมูลปลากัด    9.น้ำหมักปลากัด ? A : น้ำหมักปลากัดคือการนำเอาสีเสียดฝอย หรือใบหูกวางแห้งมาทำการหมักเพื่อในน้ำที่ได้จากการหมักไปใช้เลี้ยงปลา ทำไมต้องน้ำหมัก เพราะสีเสียดหรือใบหูกวางแห้งจะมีสารเทนนินทีไ่ด้จากการหมัก ซึ่งสารเทนนินตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งแบททีเรีย ทำให้น้ำเสียช้าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาจะคึกคักเป็นพิเศษ และยังทำให้หวอดของปลาเหนียวขึ้นอีกด้วย ไม่เชื่อก็ลองดูครับไม่ได้อวยแต่คนเลี้ยงปลากัดแถบทุกคนจะรู้จักสรรพคุณน้ำหมักดี ต้องลองแล้วจะรู้ว่าดีจริง   10.ปลากัดเลี้ยงรวมได้ไหม ? A : ได้ครับ แต่เป็นเป็นสถานที่กว้างและมีพืชน้ำเยอะหน่อยเพื่อให้ปลาได้มีที่ว่ายไล่กันและหลบซ่อนตัว เวลาวิ่งไล่จับกันเหนื่อยแล้ว  credit รูปจาก Phon Betta

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ

betta Feb 13, 2019

 ก่อนที่งานประกวดของ Thailand Betta Club จะมาถึง เรามาลองดูพื้นฐานของสีปลากัดกันครับ  นี่เป็นตารางสีที่ผมเคยได้รับสอนตั่งแต่ผมเข้ามาเลี้ยงปลากัดใหม่เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว โดยมาตรฐานของIBCจะแบ่งสีพื้นฐานเป็น4กลุ่ม นั่นก็คือ กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา, กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา, กลุ่มสีอ่อน เงา และ กลุ่มสีเข้ม เงา กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา จะมี เหลือง ส้ม ใส โอเปค และ พาสเทล (สีเนื้อ) กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา จะมี ดำ และ แดง กลุ่มสีอ่อน เงา จะมี ขาวและ ทอง กลุ่มสีเข้ม เงา จะมี คอปเปอร์ น้าเงิน เขียว และ เทา ทีนี้เรามาดูว่าพื้นฐานของสีเดี่ยว ถ้ากรณีเกิดมีสีที่สองขึ้น จะมีข้อเสียอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างปลาสีเดี่ยว แดง สีในกลุ่มสีเข้ม ไม่เงา ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบ คือ เม็ด อีรีต เป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่า อีรีต ที่อยู่ในโทนสว่างเงา จะตัดกับสีแดงที่อยู่ในโทนเข้มไม่เงา ทำให้เกิดความแตกต่างละหว่างสีเข้มและสีสว่างเงา มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าสีที่สองเป็นดำ จะมีตำหนิเหมือนกันแต่น้อยกว่าเม็ดอีรีต เพราะอะไร? ถ้าเรากลับไปดูที่ตารางจะเห็นว่าดำอยู่ในกลุ่มเดียวกับแดง นั่นก็คือกลุ่มเข้มไม่เงา เลยไม่ทำให้เกิดข้อแตกต่างมากละหว่างสีแดงและดำ แต่ทั้งนี้สีที่สองถือว่าเป็นตำหนิหมดบนปลาสีเดี่ยว แต่ผมได้ยกตัวอย่างว่าตำหนิไหนร้ายแรงกว่ากัน ในทางกลับกัน ถ้าเรามีปลาสีเดี่ยวสว่าง อย่างเช่นปลาเหลือง ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบจะกลับกันเลยครับ สีดำจะเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่าเหลืองอยู่ที่โทนสว่าง และ เม็ดอีริดอยู่ที่โทนสว่างเหมือนกัน เลยไม่ทำให้เกิดโทนแตกต่างละหว่างสองสีนี้มาก แต่ถ้าเป็นสีดำที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม จะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันมากครับ เราเลยจะเห็นหลายๆงานที่กรรมการจะเลือกสี ขาว,ใส หรือสีทอง ขึ้นมาก่อนสีอื่นๆ ในกลุ่มสีเดี่ยว ในกรณีที่เลือกเบสในกลุ่ม เพราะว่าสีเหล่านี้ ถ้าไม่มีสีที่สองเลย จะเป็นปลาที่บริสุทธิ์มากๆ สีตะเกียบจะสีเดียวกันหมด ต่างจากสีอื่นที่อาจจะมีขาวตรงปลายตะเกียบบ้าง  ตอนนี้เรามาดูปลาในกลุ่มลวดลายกัน ในกรณีปลาขอบ สีอะไรจะเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด? คำตอบคือการผสมละหว่างกลุ่มสีอ่อนและกลุ่มสีเข้ม การตัดกันละหว่างสองกลุ่มนี้จะทำให้เกิด ความแตกต่างละหว่างสีที่สูง อย่างเช่นปลาน้าเงินในกลุ่มสีเข้ม แต่คริบตัดด้วยสีขาวซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อน การรวมกันของสองสีนี้จะทำให้เกิดสีที่ตัดกันสูงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า High Contrastแล้วถ้าตัดกันละหว่างกลุ่มสีในหมวดเดียวกันละ? เข้มตัดเข้ม หรืออ่อนตัดอ่อน ยกตัวอย่างเช่นแดงตัดกับดำ จะทำให้เกิดขัอแตกต่างละหว่างสีที่ต่าหรือ Low contrast จะไม่ค่อยมีจุดดึงดูดใสสายตาเท่าไหล่นัก. อีกลวดลายนึงนั่นคือ กลุ่มสองสี หรือ Bi color ลำตัวสีนึงคริบสีนึง ควรจะมีลำตัวที่ตัดสีที่ดี อย่างเช่นลำตัวในกลุ่มสีอ่อน ตัดกับคริบที่สีเข้ม หรือสลับกันก็ได้ ตัวอย่างที่ดีมากๆคือ มังกรแดง red dragon ที่มีลำตัวสีขาว ในกลุ่มสีสว่าง ตัดกับคริบสีแดงที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม ทำให้เกิด Hi Contrast การตัดของสองสีสุดคั่ว. แล้วถ้าเป็นแฟนซีทั่วไปละ? ผมจะยกตัวอย่างเช่นปลาโค้ย เคยสังเกตมั้ยว่าโค้ยที่มีสีดำและแดงนั่นสีจะกลืนอยู่มาก แต่ถ้าแค่มีแต้มเหลืองเข้าไปเท่านั้นแหละจะทำให้เด่นขึ้นมาเลย นั่นก็เพราะเหลืองที่อยู่ในกลุ่มสีสว่างได้ไปทำการตัดกับสีแดงกับดำทำให้เด่นขึ้น หรือถ้าเดียวนี้มีการพัฒนาให้มีผสมปลาเครือบเงาแฟนซีเข้ากับปลาโค้ยหนัง จนทำให้เกิดปลาโค้ยที่มีเกล็ดเงาขึ้นตามคริบและลำตัว นั่นทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตาที่สูงมาก เพราะว่าความเงาจะไปตัดกับพื้นหนังของปลาโค้ย อย่างเช่นโค้ยแดงที่มีเกล็ดขาวๆขึ้นตามลำตัว ทำให้เกิดจุดตัดของสีเข้มและอ่อนสูง ผมขอจบพื้นฐานของสีปลากัดอยู่เท่านี้นะครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดเป็นแค่พื้นฐานขั้นต้นของมาตรฐานIBCเท่านั้น สุดท้ายปลาที่สวยที่สุดก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Hui Sarawut

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด