การเพาะพันธุ์ปลากัด

betta
การเพาะพันธุ์ปลากัด
Apr 5, 2023
by

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด
- พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์ 
พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ

-ภาชนะเพาะปลากัด
ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้

-ใบตอง หรือ ใบหูกวาง
ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร)

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด

1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์


2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน


3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70%


4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน 
ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่


5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว 
แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta

การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

Tag
Siamese Fighting Fishเพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Jan 26, 2023

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส สีเกล็ด แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา สีด้าน เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู สีเงา เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์ ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี 1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น 2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา 3.สังเกตุตรงปากของปลา 4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้ -พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10%  -หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว -นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี -ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย -พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม Black Star Black Star Black Star ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Sep 23, 2019

วงการปลากัด มาถึงจุด ไลฟ์ประมูลปลากัด ได้อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นกับการปรับตัวของพ่อค้าปลากัด ช่วงหลังเฟซบุ๊คเข้มงวดเรื่องกฏเกี่ยวกับการทรมานสัตว์และเฟซบุ๊คมองการถ่ายรูปปลากัดขายเป็นการทรมานสัตว์จ้า ผลก็คือเฟซบุ๊คไล่ปิดกลุ่มประมูลปลากัดรัวๆเลยโดนกันถ้วนหน้า เดือนร้อนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้ชื่อชอบปลากัดกันหมด แต่ในวิกฤตย่อมมีหวามหวัง มีพ่อค้าปลาบางส่วนเริ่มปรับตัวจากโพสขายในกลุ่มเฟซบุ๊คเปลี่ยนมา ไลฟ์สดประมูลปลากันในเฟซบุ๊คแทน ผลก็คือได้ผลตอบรับดีพอสมควร นับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานะการณ์และเทรนไทยแลน์4.0 ได้อย่างเฉียบ ปัจจุบันการซื้อขายปลากัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป วันนี้จะมานำเสนอการไลฟ์สดประมูลปลากัดของ อ.น้อย จากฟาร์ม Phon Betta Thailand ใครสนใจจะร่วมประมูลด้วยก็เข้าไปที่ facebook นครสวรรค์ เขื่อนแม่วงก์ ติดตามการไลฟ์ประมูลปลากัด กันได้ นอกจากจะได้ประมูลปลากัดแล้วยังได้ความรู้เรื่องปลากัดที่ อ.น้อย จะคอยสอนระหว่างการไลฟ์สดอีกด้วย  อ.น้อยจะไลฟ์ประมูลปลากัดทุกวัน พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเวลาตั้งแต่20.30น.เป็นต้นไป แต่บางสัปดาห์ไหนติดธุระ อ.จะงดแต่จะประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊คก่อนครับ