การเพาะพันธุ์ปลากัด

betta
การเพาะพันธุ์ปลากัด
Apr 5, 2023
by

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด
- พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์ 
พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ

-ภาชนะเพาะปลากัด
ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้

-ใบตอง หรือ ใบหูกวาง
ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร)

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด

1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์


2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน


3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70%


4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน 
ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่


5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว 
แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta

การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

Tag
Siamese Fighting Fishเพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 11, 2019

__________" เจ้าไตรรงค์ " ______________ ปลากัด ที่มีราคาค่าตัว แพงที่สุด ในตอนนี้ ที่ทุกคนกล่าวถึง ย้อนกลับไปปี57 ได้มีการปิดประมูลปลากัดลายธงชาติไทยตัวนี้ไปในราคา53,500 บาท เป็นการปลุกกระแสตลาดปลากัดไทยในช่วงนั้นให้คึกคักอย่างมาก ปลากัดสีธงชาติคือปลากัดในประเภทแฟนซีที่มี3สีในตัวเดียว คือมีสีแดง น้ำเงิน และขาว ในปัจจุบันการทำปลากัดลายธงชาติที่มีเลือดนิ่งๆยังยากอยู่ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนไทยแน่นอนครับ ประกัดสัตว์น้ำประจำชาติไทยต้องไปให้สุดอย่าหยุดการพัฒนาแค่นี้ ทางใต้หวอดจึงอยากจะนำเสนอ ศิลปะบนตัว บนตัว "เจ้าไตรรงค์ " อีกครั้งว่าสวยงามขนาดไหน ปลากัดไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ปลากัดลายธงชาติ หรือ "เจ้าไตรรงค์" ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ   ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา Shutter-Prince

betta Jan 26, 2023

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส สีเกล็ด แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา สีด้าน เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู สีเงา เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์ ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี 1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น 2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา 3.สังเกตุตรงปากของปลา 4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้ -พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10%  -หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว -นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี -ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย -พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม Black Star Black Star Black Star ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Oct 22, 2019

  เกลือลี้ยงปลา หรือ เกลือสมุทร ถ้าถามว่ายาอะไรเป็นยาสามัญประจำบ้านของปลากัด รวมถึงปลาสวยงามน้ำจืดต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นเกลือ ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เองแต่ลองค้นข้อมูลแล้วไปเจอบท ความนึง คิดว่า อ่านง่ายและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก รวมทั้งได้เนื้อหาค่อนข้างครบนะ เลยไม่เขียนเองล่ะ เอามาให้อ่านกันเลยแล้วกัน ร้าน ขายปลา เซียนเลี้ยงปลา ฟาร์มปลา ไม่ว่าใครๆ เมื่อถามถึงการเลี้ยงปลาว่าต้องใช้สิ่งใดประกอบการเลี้ยงบ้าง ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ่ายน้ำต้องใส่เกลือ ใส่เยอะบ้าง น้อยบ้าง ใส่เกลือชนิดนั้นชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ บางครั้งเกลือเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การใส่เพราะว่าเขาบอกมาว่าจะดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ อาจจะทำให้บางท่านคิดเปลี่ยนไป มองเปลี่ยนไปในการใช้หรือเทคนิคการใช้ แต่อยากให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เข้าใจมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงผมจะรู้เรื่องมากกว่า แต่ผมพยายามรวบรวมมาจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้พบเจอมา เกลือ คือ สารให้ความเค็มอาจจะเกิดจากสารอะไรได้หลายอย่างแต่เกลือที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์น้ำหรือที่ใช้ในการประกอบอาหารของมนุษย์นั้นคือ เกลือแกง ชื่อนี้หมายรวมถึงเกลือจากทุกแหล่งที่มีส่วนประกอบเป็น โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เช่นที่มาจาก น้ำทะเล หรือเกลือสินเธาว์ ที่เราคุ้นเคยล้วนเป็นเกลือแกงทั้งสิ้น เลี้ยงปลาสวยงาม จำเป็นต้องใช้เกลือหรือไม่? จำเป็นครับ ไม่ว่าคุณภาพน้ำจะดีมากน้อยขนาดไหนก็จำเป็น เว้นแต่เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือในการอิงทรัพยากรส่วนใหญ่จากธรรมชาติเพราะ เนื่องจากมีแร่ธาตุและความเค็มเพียงพอแล้ว ไม่นับรวมถึงปลาทะเลสวยงาม เพราะต้องใช้เกลือหรือน้ำทะเลอยู่แล้ว เกลือที่ใช้ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพิ่มความเค็ม และเพิ่มปริมาณไอออนในน้ำ เราควรใช้เกลือขนาดไหนถึงจะดี ? ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวครับว่าจะใช้เกลือเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะหากจะเอาตามหลักวิชาการเป๊ะ ก็คงต้องดูถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเลียงด้วยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประมาณเอาจากความเคยชิน ประสบการณ์ และสภาพปลาที่เลี้ยง การใช้เกลืออาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆเป็น 2 กรณี คือ 1. ใช้เพื่อให้ปลาสบายตัวลดความเครียด กรณีนี้อัตราส่วนการใช้ก็ตั้งแต่ 1 ppm ไปจนถึง 3 ppt เอากันตามหลักวิชาการเลยว่างั้น เพราะในน้ำประปาทั่วไปปรมาจารย์ด้านคุณภาพน้ำกล่าวไว้ว่า แทบไม่ต้องใส่เกลืออีกแล้วหากมีน้ำถ่ายอย่างเสมอๆ ยกตัวอย่างการเลี้ยงรันชูที่ถ่ายน้ำกันทุกวัน หรือใส่แค่เพื่อเพิ่มอิออน ในน้ำเท่านั้น แต่ในการเลี้ยงบางกรณีที่เป็นระบบปิดนานๆถึงจะถ่ายน้ำซักครั้ง มักใส่เพื่อผลอย่างอื่นด้วยนั่นคือ การลดความเป็นพิษจากของเสียต่างๆ แบบนี้จะต้องใส่มากขึ้นมาอีกถึง 3 ppt แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะเกลือที่เพิ่มขึ้นหมายถึงร่างกายปลาที่รับภาระมากขึ้นด้วยเช่นกัน 2. ใช้เพื่อรักษาโรค หรือใช้เพื่อกำจัดจุลชีพอื่นๆ กรณีนี้ใส่กันได้แบบกระหน่ำใส่แล้วแต่ชนิดปลา ถ้าปลาทนๆหน่อย อย่างหมอสี ใส่กันถึง 10-12 ppt ก็บ่ยั่น แต่กับปลาทอง 10 ppt ก็น่าหวาดเสียวแล้วครับ หลักเกณฑ์ง่ายๆ และเป็นสากลในการกำจัดปรสิตภายนอกด้วยเกลืออยู่ที่ระดับความเค็ม 5-7 ppt แช่ไปนานทั้งสัปดาห์แล้วค่อยถ่ายน้ำเลยครับ แต่ทั้งนี้ดูอาการง่ายๆ 3-4 วันเข้าไปแล้วเจ้าเชื้อโรค ปรสิตต่างๆที่เกาะอยู่ยังไม่ไปไหนก็หาวิธีอื่นรักษาได้แล้วครับ ก่อนที่จะเสียใจ และเสียดาย

betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?