"อัญมณีใต้ผืนน้ำไทย"

ใต้หวอด
betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?

VIEW MORE

ปลากัด

ปลากัดอัญมณีใต้ผืนน้ำไทย ที่อยู่กับคนไทยมายาวนาน

betta Apr 5, 2023

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด - พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์  พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ -ภาชนะเพาะปลากัด ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้ -ใบตอง หรือ ใบหูกวาง ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร) ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด 1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์ 2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน 3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70% 4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน  ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่ 5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว  แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง   ผสมพันธุ์ ปลากัด   ผสมพันธุ์ ปลากัด ไข่ปลากัด ไข่ปลากัด ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

betta Jan 26, 2023

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส สีเกล็ด แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา สีด้าน เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู สีเงา เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์ ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี 1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น 2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา 3.สังเกตุตรงปากของปลา 4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้ -พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10%  -หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว -นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี -ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย -พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม Black Star Black Star Black Star ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

betta Nov 14, 2022

 อาร์ทีเมีย หรือ ไรทะเล  ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย  อาร์ทีเมีย ที่นี้เราพอจะรู้กันแล้วนะว่าอาร์ทีเมียคืออะไรหน้าตาเป็นยังไง ก็จะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย วิธีเป่า อาร์ทีเมีย อาหารอนุบาลลูกปลากัด เรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน 1.ไข่อาร์ทีเมีย (แนะนำเป็นยี่ห้อนกอินทรีย์ ไม่เคยเป่ามาก่อนก็ทำได้ฝักจริง) 2.เกลือสมุทร 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ1ลิตร โดยประมาณ 3.ชุดเป่าอาร์ทีเมีย(ขวดน้ำประมาณ1ลิตร,สายอ๊อกซิเจน,เครื่องอ๊อกซิเจน,วาวปรับละดับความแรงอ๊อกซิเจน) 4.กระชอนแยกเปลือกไข่ 5.อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเป่าไรแดงประมาณ25-30 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่1 ประกอบชุดเป่าอาร์เสร็จแล้วก็จัดการเปิดเครื่องได้เลย ใส่เกลือ2หยิบมือ กับไข่อาร์ทีเมีย1ช้อนชา เป่าทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ชุดเป่า ขั้นตอนที่2 หลังจากเป่าอาร์ทีเมียจนครบ24ชั่วโมงแล้วเราก็เอามาเทใส่กระชอนเพื่อล้างและแยกตัวอ่อนอาร์ทีเมียออกจากเปลือก ทีนี้เราก็จะได้อาร์เมียเอาไว้อนุบาลลูกปลากันแล้ว ง่ายๆแค่2ขั้นตอน ลองทำกันดูนะครับไม่ยาดอย่างที่คิดจริงๆ แค่ลงทุนกับไข่อาร์ทีเมียเกรดดีๆหน่อยรับรองฝีก90% ไม่ต้องไปง้อลูกไรแล้ว อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ ข้อดีของการเป่าอาร์ทีเมีย - สะอาดไม่มีเชื้อโรค100%  - ถึงจะหน้าฝนก็มีอาหารอนุบาลลูกปลา ข้อเสียของการเป่าอาร์ทีเมีย -ราคาสูงไม่เหมาะกับฟาร์มปลากัด ฟาร์มปลาจะนิยมให้ไรแดงมากกว่า -เสียเวลาในการเป่า24ชั่วโมงขึ้นไป <<<< ต้องการสั่งซื้อ อาร์ทีเมีย  >>>>

betta Apr 26, 2021

ปลากัดนิลมังกรคืออะไร สายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นปลาอะไรกัน วันนี้จะมาเลาให้ฟังว่าปลากัดนิลมักรคืออะไร ปลากัดนิลมังกร เป็นปลากัดที่เกล็ดเป็นสีคอปเปอร์ และหนังเป็นสีดำ อ้าว......อย่างนี้ก็คือปลาพวกตรกูลซามูไรนะสิ  ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม แต่.... ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่เลย ปลากัดนิลมังกรคือปลาที่หลุดมาจาก ปลากัด สาย black light ของ อ.น้อย จาก ฟาร์ม Phon betta thailand ขอเน้นเลย นิลมังกรของแท้100%ต้องมาจากปลาหลุดมาจาก black lightสาย อ.น้อย เท่านั้น มีหลายๆคนยังเข้าใจผิดกันว่า นิลมังกร คือปลาตระกูล black samurai      ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก อ.น้อย Phon Betta Thailand  

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

betta Feb 4, 2020

ประมูลปลากัดบนfacebook? เพื่อนๆเคยได้ยินกันไหมครับว่าเราสามารถเข้าไปประมูลปลากัดfacebookได้ สำหรับคนที่ชื่นชอบปลากัดที่มีฉายาว่าปลานักสู้บ้าง อัญมณีใต้น้ำบ้าง  สำหรับเหล่าสาวกประกัดแล้วแหล่งซื้อขายปลากัดในปัจจุบันที่สะดวกและง่ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการประมูลปลากันบนโลกออนไลน์ ในวันนี้ใต้หวอดจะพาไปดูเพจที่ร้อนแรงในขณะนี้   https://www.facebook.com/groups/170937220422012/ แพจplakadthai group ในตอนนี้มีสมาชิกประมาณ1หมื่นนิดๆ แต่แอดคิดว่าในเวลาอันใกล้น่าจะไปแตะ2หมื่นuserได้ไม่ยาก เพราะกระแสความนิยมในปลากัดนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพจประมูลปลากัดของไทยเรามีอยู่หลายกลุ่มมาก แต่ในวันนี้ขอนำเสนอมาแค่กลุ่มเดี่ยวก่อน ไว้วันหลังadminจะรวมเพจประมูลต่างๆของไทยมานำเสนอกันอีกรอบ ซึ่งตอนนี้คนไหนสนใจอยากจะลองประมูลปลากัดก็สามารถกดเข้าไปที่เพจได้เลยนะครับ ราคาอยู่ในมือเราอย่าไปกลัวครับ ลุย!!! *** เนื่องจากกลุ่มประมูลปลากัดโดนfacebookตามปิดเพราะผิดกฏของfacebook ใต้หวอดจะขอ Update รายชื่อกลุ่มประมูลปลากัดใหม่ กลุ่มประมูลปลากัดไหนต้องการให้ทางใต้หวอดupdateกลุ่มชื่อกลุ่มประมูลปลากัดบนบทความนี้ให้ ติดต่อได้ที่IBของเพจได้ตลอดเวลาเลยนะครับ ทางใต้หวอดยินดีที่จะสนับสนุนวงการปลากัดไทยเสมอ Bangkok auction   บทความแนะนำ -ประมูลปลากัดไทยค่าตัว2หมื่นบาท -ปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ กระแสยังแรงต่อเนื่อง -ไลฟ์ประมูลปลากัด

betta Jan 28, 2020

Phon betta thailand ผู้บุกเบิกการไลฟ์สดประมูลบนปลากัดบนYoutubeเจ้าแรกในประเทศไทย Phon betta thailandผู้เริ่มต้นจากการไลฟ์สดประมูลปลากัดบนFacebook แต่ผิดกฏมาตราฐานการห้ามขายสัตว์บนfacebook จึงได้ปรับตัวมาไลฟ์สดบน Youtube แทน ซึ่งความเสถียรของระบบไลฟ์สด Youtuberทำได้ดีกว่าFacebookซะด้วย ถือว่าPhon betta thailand ได้ช่วยบุกเบิกอีกหนึ่งช่องทางซื้อขายปลากัดให้กับพี่น้องวงการปลากัดได้สำเร็จ  สำหรับผู้สนใจจะไลฟ์ประมูลปลากัด กด ได้เลย ไลฟ์สดปลากัดกับ อ.น้อย  ปลาเกรดคุณภาพทุกตัว ถ้าแชร์ไลฟ์บนfacebookจะแถมตัวเมียให้ทุกคู่ด้วยนะ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม "ลด แลก แจก แถม" มากมายในไลฟ์สด ไม่ได้อวยแต่คือเรื่องจริง   

betta Nov 26, 2019

เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว เราจะดูแลปลากัดที่เรารักกันอย่างไร ทางใต้หวอดจะมานำเสนอแนวทางที่จะดูแลปลากัดในหน้าหนาวกันครับ  - ย้ายปลามาเลี้ยงในสถานที่ปิด เช่น ในบ้าน ในห้อง  - ใช้ ฮีตเตอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา - ลดอาหาร เพราะหน้าหนาวปลาจะเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยลง ถ้าให้อาหารเยอะปลาจะกินไม่หมดน้ำจะเน่า ทำให้ปลาป่วยเป็นโรคและตายได้ - เอาปลาตากแดดช่วงเข้าประมาณ15นาที -เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น เพียงแค่นี้ปลากัดที่เรารักก็จะรอดหน้าหนาวไปได้แบบชิวๆ   

betta Oct 22, 2019

  เกลือลี้ยงปลา หรือ เกลือสมุทร ถ้าถามว่ายาอะไรเป็นยาสามัญประจำบ้านของปลากัด รวมถึงปลาสวยงามน้ำจืดต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นเกลือ ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เองแต่ลองค้นข้อมูลแล้วไปเจอบท ความนึง คิดว่า อ่านง่ายและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก รวมทั้งได้เนื้อหาค่อนข้างครบนะ เลยไม่เขียนเองล่ะ เอามาให้อ่านกันเลยแล้วกัน ร้าน ขายปลา เซียนเลี้ยงปลา ฟาร์มปลา ไม่ว่าใครๆ เมื่อถามถึงการเลี้ยงปลาว่าต้องใช้สิ่งใดประกอบการเลี้ยงบ้าง ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ่ายน้ำต้องใส่เกลือ ใส่เยอะบ้าง น้อยบ้าง ใส่เกลือชนิดนั้นชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ บางครั้งเกลือเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การใส่เพราะว่าเขาบอกมาว่าจะดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ อาจจะทำให้บางท่านคิดเปลี่ยนไป มองเปลี่ยนไปในการใช้หรือเทคนิคการใช้ แต่อยากให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เข้าใจมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงผมจะรู้เรื่องมากกว่า แต่ผมพยายามรวบรวมมาจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้พบเจอมา เกลือ คือ สารให้ความเค็มอาจจะเกิดจากสารอะไรได้หลายอย่างแต่เกลือที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์น้ำหรือที่ใช้ในการประกอบอาหารของมนุษย์นั้นคือ เกลือแกง ชื่อนี้หมายรวมถึงเกลือจากทุกแหล่งที่มีส่วนประกอบเป็น โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เช่นที่มาจาก น้ำทะเล หรือเกลือสินเธาว์ ที่เราคุ้นเคยล้วนเป็นเกลือแกงทั้งสิ้น เลี้ยงปลาสวยงาม จำเป็นต้องใช้เกลือหรือไม่? จำเป็นครับ ไม่ว่าคุณภาพน้ำจะดีมากน้อยขนาดไหนก็จำเป็น เว้นแต่เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือในการอิงทรัพยากรส่วนใหญ่จากธรรมชาติเพราะ เนื่องจากมีแร่ธาตุและความเค็มเพียงพอแล้ว ไม่นับรวมถึงปลาทะเลสวยงาม เพราะต้องใช้เกลือหรือน้ำทะเลอยู่แล้ว เกลือที่ใช้ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพิ่มความเค็ม และเพิ่มปริมาณไอออนในน้ำ เราควรใช้เกลือขนาดไหนถึงจะดี ? ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวครับว่าจะใช้เกลือเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะหากจะเอาตามหลักวิชาการเป๊ะ ก็คงต้องดูถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเลียงด้วยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประมาณเอาจากความเคยชิน ประสบการณ์ และสภาพปลาที่เลี้ยง การใช้เกลืออาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆเป็น 2 กรณี คือ 1. ใช้เพื่อให้ปลาสบายตัวลดความเครียด กรณีนี้อัตราส่วนการใช้ก็ตั้งแต่ 1 ppm ไปจนถึง 3 ppt เอากันตามหลักวิชาการเลยว่างั้น เพราะในน้ำประปาทั่วไปปรมาจารย์ด้านคุณภาพน้ำกล่าวไว้ว่า แทบไม่ต้องใส่เกลืออีกแล้วหากมีน้ำถ่ายอย่างเสมอๆ ยกตัวอย่างการเลี้ยงรันชูที่ถ่ายน้ำกันทุกวัน หรือใส่แค่เพื่อเพิ่มอิออน ในน้ำเท่านั้น แต่ในการเลี้ยงบางกรณีที่เป็นระบบปิดนานๆถึงจะถ่ายน้ำซักครั้ง มักใส่เพื่อผลอย่างอื่นด้วยนั่นคือ การลดความเป็นพิษจากของเสียต่างๆ แบบนี้จะต้องใส่มากขึ้นมาอีกถึง 3 ppt แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะเกลือที่เพิ่มขึ้นหมายถึงร่างกายปลาที่รับภาระมากขึ้นด้วยเช่นกัน 2. ใช้เพื่อรักษาโรค หรือใช้เพื่อกำจัดจุลชีพอื่นๆ กรณีนี้ใส่กันได้แบบกระหน่ำใส่แล้วแต่ชนิดปลา ถ้าปลาทนๆหน่อย อย่างหมอสี ใส่กันถึง 10-12 ppt ก็บ่ยั่น แต่กับปลาทอง 10 ppt ก็น่าหวาดเสียวแล้วครับ หลักเกณฑ์ง่ายๆ และเป็นสากลในการกำจัดปรสิตภายนอกด้วยเกลืออยู่ที่ระดับความเค็ม 5-7 ppt แช่ไปนานทั้งสัปดาห์แล้วค่อยถ่ายน้ำเลยครับ แต่ทั้งนี้ดูอาการง่ายๆ 3-4 วันเข้าไปแล้วเจ้าเชื้อโรค ปรสิตต่างๆที่เกาะอยู่ยังไม่ไปไหนก็หาวิธีอื่นรักษาได้แล้วครับ ก่อนที่จะเสียใจ และเสียดาย

betta Oct 1, 2019

ประวัติปลากัด (Siamese Fighting Fish) ปี พ.ศ. 2383 พระมหากษัตริย์ไทยได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ จากสถาบันเบนเกลเมดิคอล เซอร์วิสของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นวาดภาพ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ ปลากัดไว้ ในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ ได้ตั้งชื่อให้ว่า Macropodus pugnax, Var. แต่พบว่าเกิดความสับสนระหว่างชนิดปลากัดกับปลาชนิดอื่นที่มีการค้นพบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันบ่อย ทำให้มีการตรวจสอบอีกครั้งในปี พ.ศ.2452 โดย ซี. เท็ด เรแกน และได้ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ปลากัดว่า Betta splendens หมายถึง นักรบผู้สง่างาม พบหลักฐานบันทึกถึงการเริ่มนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรป ปี พ.ศ. 2414 โดยมีการเพาะสำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ได้นำเข้าไปในเยอรมันนี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453 ประวัติปลากัดไทย ลักษณะโดยทั่วไป ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก และค่อนชี้ขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีกระดูกอยู่ที่ด้านหน้าช่องตา (preorbital) และมีเกล็ดละเอียดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้งส่วนหัว และตัว ความยาวจากจงอยปากถึงโคนครีบหาง ยาวประมาณ 2.9 – 3.3 เท่า ของความกว้างของลำตัว และ 3.0 – 3.3 เท่าของความยาวหัว หรือมีขนาดได้ไม่เกิน 6 เซนติเมตร ครีบหลังอยู่ค่อนทางด้านหาง  ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 – 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 – 9 ก้าน ฐานครีบก้นยาวที่เริ่มจากครีบท้องถึงโคนครีบหาง โดยประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 2 – 4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21 – 24 ก้าน ส่วนครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ทั้งนี้ ปลากัดจะไม่มีเส้นข้างตัว ส่วนสีเกล็ดหรือลำตัวมีหลายสี เช่น แดง คราม เขียว นํ้าเงิน และสีผสมต่างๆ โดยพบว่า สีของเพศผู้จะมีสีสวยงามกว่าเพศเมีย ปลากัดมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจร่วมกับเหงือก เรียกว่า Labyrinth organ ซึ่งจะอยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกอ่อนบาง ๆ เรียงซ้อนทับไปมา และมีรอยหยักคล้ายดอกเห็ดหูหนูขาว บนแผ่นจะประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงจากอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือก จึงเป็นความพิเศษที่ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้ ซึ่งจะเริ่มมีเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน โดยธรรมชาติ ปลากัดจะมีนิสัยก้าวร้าว และหวงถิ่น มีนิสัยชอบกัดต่อสู้กัน ซึ่งพบได้มากในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้ยังมีนิสัยชอบทำร้ายปลากัดเพศเมีย พฤติกรรมนี้จะแสดงออกเมื่อมีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือน ประวัติปลากัดไทย พันธุ์ปลากัด ปลากัดที่พบในธรรมชาติในช่วงแรกๆ จะมีสีเพียงไม่กี่สี คือ สีนํ้าตาลขุ่น และสีเทาแกมเขียว มีลักษณะครีบ และหางสั้น โดยเพศผู้จะมีครีบ และหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย ต่อมาได้มีการเพาะพัฒนาสายพันธุ์จนกระทั่งมีครีบแผ่ใหญ่ และสวยงามมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ในปัจจุบันมีการจำแนกปลากัดออกเป็นหลายชนิด ปลากัดมีกี่ชนิด ? 1. ปลากัดลูกป่า/ปลากัดทุ่ง เป็นปลากัดที่พบได้ตามธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวเล็ก บอบบาง ครีบ และหางสั้น มีสีนํ้าตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว เป็นสีไม่ค่อยสวย และไม่ทนทานในการกัดเท่าปลากัดลูกหม้อ โดยเวลากัดกันจะใช้เวลาน้อยมาก 2. ปลากัดลูกหม้อ/ปลากัดไทย/ปลากัดครีบสั้น เป็นปลากัดพัฒนามาจากการเพาะเลี้ยง และการคัดพันธุ์มาหลายชั่วอายุ เพื่อการกัดต่อสู้โดยเฉพาะ มีรูปร่างลำตัวที่โตกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม  มีลักษณะปากใหญ่ ว่ายนํ้าปราดเปรียว สีสันสวยงามหลากสี เช่น สีแดงเข้ม นํ้าเงินเข้ม นํ้าตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีต่างๆ ปลาชนิดนี้กัดได้ทรหดยิ่งกว่าชนิดอื่น ใช้เวลาในการกัดนาน จึงนิยมเลี้ยงมากกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม โดยแบ่งประเภทของปลากัดลูกหม้อตามรูปร่างของร่างกาย ได้แก่ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาช่อน มีลัษณะลำตัวยาว  ทรงกระบอก คล้ายปลาช่อน มีหน้าสั้น ช่วงหัวยาวและโคนหางใหญ่ ถือเป็นปลาที่มีลีลาการต่อสู้ที่ดุดัน และมีพละกำลังมาก มีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่งในเวทีต่างๆ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาหม้อ มีลัษณะลำตัวสั้น หนา ลำตัวกว้างหนาเมื่อมองจากทางด้านข้าง และด้านบน ลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาหมอไทย เป็นปลาที่ทรหด และว่องไวในการกัด – ปลากัดลูกหม้อทรงปลากราย มีลัษณะมีหน้างอนขึ้น ลำตัวสั้นแบน เป็นปลาที่คล่องแคล่ว และว่องไวในการกัด และมีประวัติการกัดที่ยอดเยี่ยม 3. ปลากัดลูกผสม ปลากัดลูกผสมมีชื่ออีกอย่างว่า ลูกสังกะสี หรือลูกตะกั่ว เป็นปลาที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกทุ่งกับปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวที่เกิดจากการผสม มีความอดทนในการต่อสู้เหมือนกับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี  เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และนำมากัดพนันกันมากไม่แพ้ปลากัดลูกหม้อ 4. ปลากัดจีน/ปลากัดครีบยาว/ปลากัดเขมร เป็นพันธุ์ปลากัดที่ค้นพบโดยนักเพาะพันธุ์ปลากัดหม้อ โดยพบบังเอิญขณะที่พัฒนาปลากัดให้ได้ลักษณะครีบยาว ใหญ่ และให้มีหลากหลายสีที่สวยงาม จนได้ปลากัดที่มีลักษณะหางเป็นพวง คล้ายปลาทอง สีของปลากัดชนิดนี้ ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวม่วง สีนํ้าเงิน ฯลฯ รวมถึงการผสมหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ถือเป็นปลากัดที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในแถบภาคกลาง และภาคตะวันตก เช่น ปทุมธานี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น รูปแบบสีปลากัด 1. สีเดียว (solid color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีเดียวกันทั้งหมดทั้งครีบ และลำตัว โดยไม่มีสีอื่นแต้มหรือปะปน ยกเว้นเขม่าดำที่พบจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบ และขอบเกล็ด ส่วนตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ แต่ปลากัดเผือกที่ลำตัว และครีบท้องจะมีสีอื่นไม่ได้ ส่วนครีบหูนั้น อนุโลมให้เป็นครีบกระจก (ครีบที่มีลักษณะใส) ได้ 2. สองสี (bi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีลำตัวสีเดียว และสีครีบสีเดียว ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีสีแตกต่างกัน ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ 3. หลากสี (multi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ทั้งส่วนของลำตัว และครีบ ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนของตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ ลักษณะลำตัวปลากัด แบ่งได้ ดังนี้ 1. รูปทรงปลาช่อน จะมีลักษณะลำตัวยาว หัวใหญ่เหมือนปลาช่อน รูปร่างเพรียว 2. รูปทรงปลาหมอ จะมีลักษณะตัวสั้น และค่อนข้างอ้วน 3. รูปทรงปลากราย จะมีลักษณะหน้าเชิด ลำตัวตรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะผอมบาง มีครีบอก และครีบก้นยาว 4. รูปทรงปลาตะเพียน จะมีลักษณะลำตัวป้อม และครีบยาวสวยงาม รูปแบบครีบหาง แบ่งได้ ดังนี้ – หางรูปสามเหลี่ยม (delta tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และแผ่โค้ง ปลายหางกลมมน ก้านครีบตรงถึงปลาย – หางหวีหรือหนามเตย (comb tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และยาว บริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้องมีลักษณะเป็นหนาม – หางมงกุฎ (crown tail) ครีบหางจะยาวมากกว่าแบบหางหวี ก้านครีบที่แผ่ออกจะตั้งตรงตั้งแต่โคนครีบหางถึงปลายครีบหาง และจะพบลักษณะเป็นหนามบริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้อง ก้านครีบหางเป็นทั้งก้านครีบเดี่ยวหรือก้านครีบคู่ – หางคู่ (double tail) ครีบหางจะมีลักษณะสองแฉก การเลี้ยงปลากัด 1. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด การเลี้ยงปลากัดเพื่อเพาะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเลือกลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือนขึ้นไป ด้วยการเลือกคุณสมบัติในเชิงต่อสู้ ซึ่งมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวขณะเลี้ยง แล้วรีบแยกเลี้ยงในภาชนะเพียงตัวเดียว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ก่อนจะเลี้ยงรวมกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ วิธีสังเกตุเพศปลากัด – ดูสี ปลากัดเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย ลายบนลำตัวเด่นชัดกว่าตัวเมีย ซึ่งจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป – ดูครีบ และกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าตัวเมีย และกระโดงยาวไปจรดหาง ส่วนตัวเมียกระโดงจะสั้นกว่า – ดูท่อนำไข่ หากมีจุดขาวบริเวณใต้ท้องจะเป็นตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดของท่อนำไข่ – ดูปาก ปลากัดที่มีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นตัวผู้ ซึ่งใช้สังเกตได้ตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 20 วัน – ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียในช่วงอายุที่เท่ากัน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัด ควรเป็นภาชนะขนาดเล็ก และปากไม่เปิดกว้างมาก เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา และป้องกันศัตรูที่อาจจับกินปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ และควรจัดทำเป็นชั้นวางขวดเพื่อประหยัดพื้นที่ และช่วยให้สะดวกในการจัดการ การให้อาหาร พื้นที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากจะมีผลกระทบต่อปลากัดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายได้ง่ายหากอุณหภูมิสูง (อุณหภูมินํ้าไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ) และอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปลาไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเช่นกัน นํ้าที่เลี้ยงต้องปราศจากคลอรีน ควรเป็นน้ำบ่อธรรมชาติหรือน้ำบาดาล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประปา ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 6.5 – 7.5 ความกระด้าง (hardness) 75 – 100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (alkalinity) 150 – 200 มิลลิกรัม/ลิตร

betta Sep 24, 2019

เรามาเริ่มศึกษาปลากัดกันเลย กับบทความ10คำถามเรื่องการเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้เริ่มเต้น 1. วิธีสังเกตุเพศปลากัด ? A : มือใหม่หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่าปลากัดตัวผู้ตัวเมียแยกยังไง สมัยที่ผมพึ่งหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เอาละผมจะอธิบายแบบสั้นๆและเข้าใจง่าย ปลากัดตัวเมียท้องจะใหญ่กว่าตัวเมียและจะมีจุดขาวยื่นออกมาใต้ท้องปลา เรียกว่าไข่นำ และครีม หาง จะเล็กกว่าตัวเมีย  สำหรับตัวผู้นั้นจะมีครีม หาง ที่ใหญ่สง่ากว่าอย่างเห็นได้ชัด วิธีดูปลากัด ตัวเมีย กดเลย   2. กี่วันเปลี่ยนน้ำปลากัด ? A : โดยปกติประมาณ3วันถ้าไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำหมัก แต่ถ้าใช้น้ำหมักเลี้ยงปลาก็จะประมาณ5-7วัน   3.อาหารอนุบาลปลากัด ? A : ถ้าอยากให้รอดเยอะแนะนะเป็นพวกอาหารสดครับ ไรแดง.อาร์ทีเมียเป่า ส่วนอาหารผงไม่แนะนำครับ ยังไงก็สู้อาหารสดไม่ได้แน่นอนครับ ไม่มีฟาร์มที่ไหนใช้อาหารผงอนุบาลปลาอันนี้ไปสืบมาหลายสำนักแล้ว 4.ปลากัดกินอาหารแบบไหน ? A : สำปรับปลากัดที่โตเต็มวัยความยุ่งยากเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเหมือนการอนุบาลปลากัด อาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดก็สามารถหาซื้อให้ปลากินได้อาจจะสลับกับอาหารสดบ้าง เช่น ไรแดง,อาร์ทีเมีย,ลูกน้ำ,หนอนแดง,ไส้เดือนน้ำ ปลาจะได้ไม่เบื่อ ก็เหมือนกับคนจะกินอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวก็คงเบื่อแย่และก็ไม่มีต่อสุขภาพด้วย ปลาก็เหมือนกัน ใจเขาใจเรา   5.หลังจากได้ไข่แล้วทำยังไงต่อ ? A : หลังจากปลารัดกันและได้ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ไปอยู่นอกหวอด รอสักดึกๆประมาณ3-4ทุ่มก็ช้อนตัวเมียออกแบบนิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจ สงสัยไหมว่าทำไมต้องรอดึกๆ เพราะตอนดึกปลาจะหลับแล้วเราก็ใช้วิธีลักตัวเมียออกเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจนั้นเอง ตัวผู้บางตัวเขาเซนซิทีฟต่อเรื่องพวกนี้ตกใจหน่อยกินไข่เรียบนะครับ และหลังจากลูกปลาฝักจากไข่เป็นตัวแล้วนับต่อไปอีกประมาณ4-7วัน สังเกตุลูกค้าถ้าดูลูกปลาเริ่มแข็งแรง  ก็เอาไปเทลงบ่อใหญ่แล้วค่อยให้อาหารอนุบาลลูกปลาครั้งแรกดูจากข้อ3    6.วิธีสังเกตุไข่ปลากัดในหวอด ? A : ไข่ปลากัดที่เป็นเม็ดขาวๆเหมือนเม็ดสาคูจับกลุ่มรวมกันภายในหวอด สำหรับมือใหม่อาจจะสังเกตุยากหน่อยนะครับ แรกๆก็แบบนี้หลังๆเริ่มชำนาญก็จะแยกออกได้ง่าย    7.แหล่งซื้อขายอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ? A : แหล่งใหญ่ๆก็จะมีตลาดจตุจักรกับสนามหลวง2 มีครบครับทั้งอุปกรณ์ อาหาร ยา โหล ปลากัดสวยๆ   8.เว็บประมูลปลากัด ? A : ตามfacebook ปัจจุบันมีหลายเพจมากครับ ก็ลองเลือกเอาตามใจชอบได้เลย เพจประมูลปลากัด    9.น้ำหมักปลากัด ? A : น้ำหมักปลากัดคือการนำเอาสีเสียดฝอย หรือใบหูกวางแห้งมาทำการหมักเพื่อในน้ำที่ได้จากการหมักไปใช้เลี้ยงปลา ทำไมต้องน้ำหมัก เพราะสีเสียดหรือใบหูกวางแห้งจะมีสารเทนนินทีไ่ด้จากการหมัก ซึ่งสารเทนนินตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งแบททีเรีย ทำให้น้ำเสียช้าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาจะคึกคักเป็นพิเศษ และยังทำให้หวอดของปลาเหนียวขึ้นอีกด้วย ไม่เชื่อก็ลองดูครับไม่ได้อวยแต่คนเลี้ยงปลากัดแถบทุกคนจะรู้จักสรรพคุณน้ำหมักดี ต้องลองแล้วจะรู้ว่าดีจริง   10.ปลากัดเลี้ยงรวมได้ไหม ? A : ได้ครับ แต่เป็นเป็นสถานที่กว้างและมีพืชน้ำเยอะหน่อยเพื่อให้ปลาได้มีที่ว่ายไล่กันและหลบซ่อนตัว เวลาวิ่งไล่จับกันเหนื่อยแล้ว  credit รูปจาก Phon Betta

betta Sep 23, 2019

วงการปลากัด มาถึงจุด ไลฟ์ประมูลปลากัด ได้อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นกับการปรับตัวของพ่อค้าปลากัด ช่วงหลังเฟซบุ๊คเข้มงวดเรื่องกฏเกี่ยวกับการทรมานสัตว์และเฟซบุ๊คมองการถ่ายรูปปลากัดขายเป็นการทรมานสัตว์จ้า ผลก็คือเฟซบุ๊คไล่ปิดกลุ่มประมูลปลากัดรัวๆเลยโดนกันถ้วนหน้า เดือนร้อนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้ชื่อชอบปลากัดกันหมด แต่ในวิกฤตย่อมมีหวามหวัง มีพ่อค้าปลาบางส่วนเริ่มปรับตัวจากโพสขายในกลุ่มเฟซบุ๊คเปลี่ยนมา ไลฟ์สดประมูลปลากันในเฟซบุ๊คแทน ผลก็คือได้ผลตอบรับดีพอสมควร นับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานะการณ์และเทรนไทยแลน์4.0 ได้อย่างเฉียบ ปัจจุบันการซื้อขายปลากัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป วันนี้จะมานำเสนอการไลฟ์สดประมูลปลากัดของ อ.น้อย จากฟาร์ม Phon Betta Thailand ใครสนใจจะร่วมประมูลด้วยก็เข้าไปที่ facebook นครสวรรค์ เขื่อนแม่วงก์ ติดตามการไลฟ์ประมูลปลากัด กันได้ นอกจากจะได้ประมูลปลากัดแล้วยังได้ความรู้เรื่องปลากัดที่ อ.น้อย จะคอยสอนระหว่างการไลฟ์สดอีกด้วย  อ.น้อยจะไลฟ์ประมูลปลากัดทุกวัน พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเวลาตั้งแต่20.30น.เป็นต้นไป แต่บางสัปดาห์ไหนติดธุระ อ.จะงดแต่จะประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊คก่อนครับ

betta Sep 11, 2019

__________" เจ้าไตรรงค์ " ______________ ปลากัด ที่มีราคาค่าตัว แพงที่สุด ในตอนนี้ ที่ทุกคนกล่าวถึง ย้อนกลับไปปี57 ได้มีการปิดประมูลปลากัดลายธงชาติไทยตัวนี้ไปในราคา53,500 บาท เป็นการปลุกกระแสตลาดปลากัดไทยในช่วงนั้นให้คึกคักอย่างมาก ปลากัดสีธงชาติคือปลากัดในประเภทแฟนซีที่มี3สีในตัวเดียว คือมีสีแดง น้ำเงิน และขาว ในปัจจุบันการทำปลากัดลายธงชาติที่มีเลือดนิ่งๆยังยากอยู่ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนไทยแน่นอนครับ ประกัดสัตว์น้ำประจำชาติไทยต้องไปให้สุดอย่าหยุดการพัฒนาแค่นี้ ทางใต้หวอดจึงอยากจะนำเสนอ ศิลปะบนตัว บนตัว "เจ้าไตรรงค์ " อีกครั้งว่าสวยงามขนาดไหน ปลากัดไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ปลากัดลายธงชาติ หรือ "เจ้าไตรรงค์" ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ   ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา Shutter-Prince

betta Aug 22, 2019

กระแสปลากัดปีนี้ต้องยอมให้ ปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ จริงๆ แรงตั้งแต่ต้นปี (ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท)จนตอนนี้ไตรมาสที่3ของปีก็ยังแรงต่อเนื่อง ใต้หวอดเคยนำเสนอการประมูลปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ ตอนต้นปีไปแล้วที่ปิดไป20,100บาท ตอนนี้มีสถิติใหม่ของปีนี้และของปลากัดโค่ยกาแล็คซี่แล้วครับพี่น้องชาวปลากัด  โดยปิดไปที่25,530บาท ปลากัดไทยไม่ธรรมดาจริงๆ เป็นที่ฮือฮาในแวดวงปลากัดทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก แต่สถิติปลากัดที่แพงที่สุดในโลกก็ยังเป็นของเจ้าไตรรงค์ หรือ ปลากัดลายธงชาติ ยังไม่มีใครทำลายตัวเลขนี้ลงไปได้นะจ๊ะ   ปลากัด ท้องบวม   ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม ขอบคุณเจ้าของภาพและปลา คุณ วรเวทย์ ตันวิสุทธิ์

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Jun 26, 2019

ต้นปี2019 วงการปลากัดก็มีเรื่องให้ดีใจและตื่นเต้นพร้อมๆกันเลย หลังจาก ครม.ประกาสอย่างเป็นทางการให้ปลากัดเป็น"สัตว์น้ำประจำชาติ"ไปเรียบร้อย ก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นต่อเลย เพจประมูลปลากัด PlakadThai Group มีปลากัดไทยปิดประมูลไปที่ 20,100บาท โอ้วโห!!! สุดยอดไปเลย แค่ต้นปีก็จัดกันโหดมากๆ ใต้หวอดจะพาไปชมว่าปลากัด เจ้าของราคา 20,100บาท นั้นจะสวยงามแค่ไหน ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท สวยงามใช่ไหมละครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจะพัฒนาปลากัดให้สีสันสวยงามมาไกลถึงเพียงนี้ สุดยอดไปเลยครับ ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของปลาและผู้ประมูลปลากัดได้ด้วยครับ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณ May Betta Farm 

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด

betta Jun 16, 2019

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549 ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549 ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS   *** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand

betta Feb 13, 2019

 ก่อนที่งานประกวดของ Thailand Betta Club จะมาถึง เรามาลองดูพื้นฐานของสีปลากัดกันครับ  นี่เป็นตารางสีที่ผมเคยได้รับสอนตั่งแต่ผมเข้ามาเลี้ยงปลากัดใหม่เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว โดยมาตรฐานของIBCจะแบ่งสีพื้นฐานเป็น4กลุ่ม นั่นก็คือ กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา, กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา, กลุ่มสีอ่อน เงา และ กลุ่มสีเข้ม เงา กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา จะมี เหลือง ส้ม ใส โอเปค และ พาสเทล (สีเนื้อ) กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา จะมี ดำ และ แดง กลุ่มสีอ่อน เงา จะมี ขาวและ ทอง กลุ่มสีเข้ม เงา จะมี คอปเปอร์ น้าเงิน เขียว และ เทา ทีนี้เรามาดูว่าพื้นฐานของสีเดี่ยว ถ้ากรณีเกิดมีสีที่สองขึ้น จะมีข้อเสียอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างปลาสีเดี่ยว แดง สีในกลุ่มสีเข้ม ไม่เงา ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบ คือ เม็ด อีรีต เป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่า อีรีต ที่อยู่ในโทนสว่างเงา จะตัดกับสีแดงที่อยู่ในโทนเข้มไม่เงา ทำให้เกิดความแตกต่างละหว่างสีเข้มและสีสว่างเงา มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าสีที่สองเป็นดำ จะมีตำหนิเหมือนกันแต่น้อยกว่าเม็ดอีรีต เพราะอะไร? ถ้าเรากลับไปดูที่ตารางจะเห็นว่าดำอยู่ในกลุ่มเดียวกับแดง นั่นก็คือกลุ่มเข้มไม่เงา เลยไม่ทำให้เกิดข้อแตกต่างมากละหว่างสีแดงและดำ แต่ทั้งนี้สีที่สองถือว่าเป็นตำหนิหมดบนปลาสีเดี่ยว แต่ผมได้ยกตัวอย่างว่าตำหนิไหนร้ายแรงกว่ากัน ในทางกลับกัน ถ้าเรามีปลาสีเดี่ยวสว่าง อย่างเช่นปลาเหลือง ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบจะกลับกันเลยครับ สีดำจะเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่าเหลืองอยู่ที่โทนสว่าง และ เม็ดอีริดอยู่ที่โทนสว่างเหมือนกัน เลยไม่ทำให้เกิดโทนแตกต่างละหว่างสองสีนี้มาก แต่ถ้าเป็นสีดำที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม จะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันมากครับ เราเลยจะเห็นหลายๆงานที่กรรมการจะเลือกสี ขาว,ใส หรือสีทอง ขึ้นมาก่อนสีอื่นๆ ในกลุ่มสีเดี่ยว ในกรณีที่เลือกเบสในกลุ่ม เพราะว่าสีเหล่านี้ ถ้าไม่มีสีที่สองเลย จะเป็นปลาที่บริสุทธิ์มากๆ สีตะเกียบจะสีเดียวกันหมด ต่างจากสีอื่นที่อาจจะมีขาวตรงปลายตะเกียบบ้าง  ตอนนี้เรามาดูปลาในกลุ่มลวดลายกัน ในกรณีปลาขอบ สีอะไรจะเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด? คำตอบคือการผสมละหว่างกลุ่มสีอ่อนและกลุ่มสีเข้ม การตัดกันละหว่างสองกลุ่มนี้จะทำให้เกิด ความแตกต่างละหว่างสีที่สูง อย่างเช่นปลาน้าเงินในกลุ่มสีเข้ม แต่คริบตัดด้วยสีขาวซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อน การรวมกันของสองสีนี้จะทำให้เกิดสีที่ตัดกันสูงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า High Contrastแล้วถ้าตัดกันละหว่างกลุ่มสีในหมวดเดียวกันละ? เข้มตัดเข้ม หรืออ่อนตัดอ่อน ยกตัวอย่างเช่นแดงตัดกับดำ จะทำให้เกิดขัอแตกต่างละหว่างสีที่ต่าหรือ Low contrast จะไม่ค่อยมีจุดดึงดูดใสสายตาเท่าไหล่นัก. อีกลวดลายนึงนั่นคือ กลุ่มสองสี หรือ Bi color ลำตัวสีนึงคริบสีนึง ควรจะมีลำตัวที่ตัดสีที่ดี อย่างเช่นลำตัวในกลุ่มสีอ่อน ตัดกับคริบที่สีเข้ม หรือสลับกันก็ได้ ตัวอย่างที่ดีมากๆคือ มังกรแดง red dragon ที่มีลำตัวสีขาว ในกลุ่มสีสว่าง ตัดกับคริบสีแดงที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม ทำให้เกิด Hi Contrast การตัดของสองสีสุดคั่ว. แล้วถ้าเป็นแฟนซีทั่วไปละ? ผมจะยกตัวอย่างเช่นปลาโค้ย เคยสังเกตมั้ยว่าโค้ยที่มีสีดำและแดงนั่นสีจะกลืนอยู่มาก แต่ถ้าแค่มีแต้มเหลืองเข้าไปเท่านั้นแหละจะทำให้เด่นขึ้นมาเลย นั่นก็เพราะเหลืองที่อยู่ในกลุ่มสีสว่างได้ไปทำการตัดกับสีแดงกับดำทำให้เด่นขึ้น หรือถ้าเดียวนี้มีการพัฒนาให้มีผสมปลาเครือบเงาแฟนซีเข้ากับปลาโค้ยหนัง จนทำให้เกิดปลาโค้ยที่มีเกล็ดเงาขึ้นตามคริบและลำตัว นั่นทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตาที่สูงมาก เพราะว่าความเงาจะไปตัดกับพื้นหนังของปลาโค้ย อย่างเช่นโค้ยแดงที่มีเกล็ดขาวๆขึ้นตามลำตัว ทำให้เกิดจุดตัดของสีเข้มและอ่อนสูง ผมขอจบพื้นฐานของสีปลากัดอยู่เท่านี้นะครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดเป็นแค่พื้นฐานขั้นต้นของมาตรฐานIBCเท่านั้น สุดท้ายปลาที่สวยที่สุดก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Hui Sarawut

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

NEWS LETTER FROM US