รวม 10 คำถามเรื่องปลากัด สำหรับมือใหม่

betta
รวม 10 คำถามเรื่องปลากัด สำหรับมือใหม่
Sep 24, 2019
by

เรามาเริ่มศึกษาปลากัดกันเลย กับบทความ10คำถามเรื่องการเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้เริ่มเต้น

1. วิธีสังเกตุเพศปลากัด ?
A : มือใหม่หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่าปลากัดตัวผู้ตัวเมียแยกยังไง สมัยที่ผมพึ่งหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เอาละผมจะอธิบายแบบสั้นๆและเข้าใจง่าย ปลากัดตัวเมียท้องจะใหญ่กว่าตัวเมียและจะมีจุดขาวยื่นออกมาใต้ท้องปลา เรียกว่าไข่นำ และครีม หาง จะเล็กกว่าตัวเมีย  สำหรับตัวผู้นั้นจะมีครีม หาง ที่ใหญ่สง่ากว่าอย่างเห็นได้ชัด วิธีดูปลากัด ตัวเมีย กดเลย
 

2. กี่วันเปลี่ยนน้ำปลากัด ?
A : โดยปกติประมาณ3วันถ้าไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำหมัก แต่ถ้าใช้น้ำหมักเลี้ยงปลาก็จะประมาณ5-7วัน
 

3.อาหารอนุบาลปลากัด ?
A : ถ้าอยากให้รอดเยอะแนะนะเป็นพวกอาหารสดครับ ไรแดง.อาร์ทีเมียเป่า ส่วนอาหารผงไม่แนะนำครับ ยังไงก็สู้อาหารสดไม่ได้แน่นอนครับ ไม่มีฟาร์มที่ไหนใช้อาหารผงอนุบาลปลาอันนี้ไปสืบมาหลายสำนักแล้ว


4.ปลากัดกินอาหารแบบไหน ?
A : สำปรับปลากัดที่โตเต็มวัยความยุ่งยากเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเหมือนการอนุบาลปลากัด อาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดก็สามารถหาซื้อให้ปลากินได้อาจจะสลับกับอาหารสดบ้าง เช่น ไรแดง,อาร์ทีเมีย,ลูกน้ำ,หนอนแดง,ไส้เดือนน้ำ ปลาจะได้ไม่เบื่อ ก็เหมือนกับคนจะกินอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวก็คงเบื่อแย่และก็ไม่มีต่อสุขภาพด้วย ปลาก็เหมือนกัน ใจเขาใจเรา
 

5.หลังจากได้ไข่แล้วทำยังไงต่อ ?
A : หลังจากปลารัดกันและได้ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ไปอยู่นอกหวอด รอสักดึกๆประมาณ3-4ทุ่มก็ช้อนตัวเมียออกแบบนิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจ สงสัยไหมว่าทำไมต้องรอดึกๆ เพราะตอนดึกปลาจะหลับแล้วเราก็ใช้วิธีลักตัวเมียออกเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจนั้นเอง ตัวผู้บางตัวเขาเซนซิทีฟต่อเรื่องพวกนี้ตกใจหน่อยกินไข่เรียบนะครับ และหลังจากลูกปลาฝักจากไข่เป็นตัวแล้วนับต่อไปอีกประมาณ4-7วัน สังเกตุลูกค้าถ้าดูลูกปลาเริ่มแข็งแรง  ก็เอาไปเทลงบ่อใหญ่แล้วค่อยให้อาหารอนุบาลลูกปลาครั้งแรกดูจากข้อ3 
 

6.วิธีสังเกตุไข่ปลากัดในหวอด ?
A : ไข่ปลากัดที่เป็นเม็ดขาวๆเหมือนเม็ดสาคูจับกลุ่มรวมกันภายในหวอด สำหรับมือใหม่อาจจะสังเกตุยากหน่อยนะครับ แรกๆก็แบบนี้หลังๆเริ่มชำนาญก็จะแยกออกได้ง่าย 
 

7.แหล่งซื้อขายอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ?
A : แหล่งใหญ่ๆก็จะมีตลาดจตุจักรกับสนามหลวง2 มีครบครับทั้งอุปกรณ์ อาหาร ยา โหล ปลากัดสวยๆ
 

8.เว็บประมูลปลากัด ?
A : ตามfacebook ปัจจุบันมีหลายเพจมากครับ ก็ลองเลือกเอาตามใจชอบได้เลย เพจประมูลปลากัด 
 

9.น้ำหมักปลากัด ?
A : น้ำหมักปลากัดคือการนำเอาสีเสียดฝอย หรือใบหูกวางแห้งมาทำการหมักเพื่อในน้ำที่ได้จากการหมักไปใช้เลี้ยงปลา ทำไมต้องน้ำหมัก เพราะสีเสียดหรือใบหูกวางแห้งจะมีสารเทนนินทีไ่ด้จากการหมัก ซึ่งสารเทนนินตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งแบททีเรีย ทำให้น้ำเสียช้าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาจะคึกคักเป็นพิเศษ และยังทำให้หวอดของปลาเหนียวขึ้นอีกด้วย ไม่เชื่อก็ลองดูครับไม่ได้อวยแต่คนเลี้ยงปลากัดแถบทุกคนจะรู้จักสรรพคุณน้ำหมักดี ต้องลองแล้วจะรู้ว่าดีจริง
 

10.ปลากัดเลี้ยงรวมได้ไหม ?
A : ได้ครับ แต่เป็นเป็นสถานที่กว้างและมีพืชน้ำเยอะหน่อยเพื่อให้ปลาได้มีที่ว่ายไล่กันและหลบซ่อนตัว เวลาวิ่งไล่จับกันเหนื่อยแล้ว 


credit รูปจาก Phon Betta

Tag
เพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดปลากัดทองbettaประมูลปลากัด

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 23, 2019

วงการปลากัด มาถึงจุด ไลฟ์ประมูลปลากัด ได้อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นกับการปรับตัวของพ่อค้าปลากัด ช่วงหลังเฟซบุ๊คเข้มงวดเรื่องกฏเกี่ยวกับการทรมานสัตว์และเฟซบุ๊คมองการถ่ายรูปปลากัดขายเป็นการทรมานสัตว์จ้า ผลก็คือเฟซบุ๊คไล่ปิดกลุ่มประมูลปลากัดรัวๆเลยโดนกันถ้วนหน้า เดือนร้อนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้ชื่อชอบปลากัดกันหมด แต่ในวิกฤตย่อมมีหวามหวัง มีพ่อค้าปลาบางส่วนเริ่มปรับตัวจากโพสขายในกลุ่มเฟซบุ๊คเปลี่ยนมา ไลฟ์สดประมูลปลากันในเฟซบุ๊คแทน ผลก็คือได้ผลตอบรับดีพอสมควร นับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานะการณ์และเทรนไทยแลน์4.0 ได้อย่างเฉียบ ปัจจุบันการซื้อขายปลากัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป วันนี้จะมานำเสนอการไลฟ์สดประมูลปลากัดของ อ.น้อย จากฟาร์ม Phon Betta Thailand ใครสนใจจะร่วมประมูลด้วยก็เข้าไปที่ facebook นครสวรรค์ เขื่อนแม่วงก์ ติดตามการไลฟ์ประมูลปลากัด กันได้ นอกจากจะได้ประมูลปลากัดแล้วยังได้ความรู้เรื่องปลากัดที่ อ.น้อย จะคอยสอนระหว่างการไลฟ์สดอีกด้วย  อ.น้อยจะไลฟ์ประมูลปลากัดทุกวัน พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเวลาตั้งแต่20.30น.เป็นต้นไป แต่บางสัปดาห์ไหนติดธุระ อ.จะงดแต่จะประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊คก่อนครับ

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Oct 22, 2019

  เกลือลี้ยงปลา หรือ เกลือสมุทร ถ้าถามว่ายาอะไรเป็นยาสามัญประจำบ้านของปลากัด รวมถึงปลาสวยงามน้ำจืดต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นเกลือ ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เองแต่ลองค้นข้อมูลแล้วไปเจอบท ความนึง คิดว่า อ่านง่ายและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก รวมทั้งได้เนื้อหาค่อนข้างครบนะ เลยไม่เขียนเองล่ะ เอามาให้อ่านกันเลยแล้วกัน ร้าน ขายปลา เซียนเลี้ยงปลา ฟาร์มปลา ไม่ว่าใครๆ เมื่อถามถึงการเลี้ยงปลาว่าต้องใช้สิ่งใดประกอบการเลี้ยงบ้าง ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ่ายน้ำต้องใส่เกลือ ใส่เยอะบ้าง น้อยบ้าง ใส่เกลือชนิดนั้นชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ บางครั้งเกลือเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การใส่เพราะว่าเขาบอกมาว่าจะดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ อาจจะทำให้บางท่านคิดเปลี่ยนไป มองเปลี่ยนไปในการใช้หรือเทคนิคการใช้ แต่อยากให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เข้าใจมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงผมจะรู้เรื่องมากกว่า แต่ผมพยายามรวบรวมมาจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้พบเจอมา เกลือ คือ สารให้ความเค็มอาจจะเกิดจากสารอะไรได้หลายอย่างแต่เกลือที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์น้ำหรือที่ใช้ในการประกอบอาหารของมนุษย์นั้นคือ เกลือแกง ชื่อนี้หมายรวมถึงเกลือจากทุกแหล่งที่มีส่วนประกอบเป็น โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เช่นที่มาจาก น้ำทะเล หรือเกลือสินเธาว์ ที่เราคุ้นเคยล้วนเป็นเกลือแกงทั้งสิ้น เลี้ยงปลาสวยงาม จำเป็นต้องใช้เกลือหรือไม่? จำเป็นครับ ไม่ว่าคุณภาพน้ำจะดีมากน้อยขนาดไหนก็จำเป็น เว้นแต่เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือในการอิงทรัพยากรส่วนใหญ่จากธรรมชาติเพราะ เนื่องจากมีแร่ธาตุและความเค็มเพียงพอแล้ว ไม่นับรวมถึงปลาทะเลสวยงาม เพราะต้องใช้เกลือหรือน้ำทะเลอยู่แล้ว เกลือที่ใช้ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพิ่มความเค็ม และเพิ่มปริมาณไอออนในน้ำ เราควรใช้เกลือขนาดไหนถึงจะดี ? ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวครับว่าจะใช้เกลือเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะหากจะเอาตามหลักวิชาการเป๊ะ ก็คงต้องดูถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเลียงด้วยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประมาณเอาจากความเคยชิน ประสบการณ์ และสภาพปลาที่เลี้ยง การใช้เกลืออาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆเป็น 2 กรณี คือ 1. ใช้เพื่อให้ปลาสบายตัวลดความเครียด กรณีนี้อัตราส่วนการใช้ก็ตั้งแต่ 1 ppm ไปจนถึง 3 ppt เอากันตามหลักวิชาการเลยว่างั้น เพราะในน้ำประปาทั่วไปปรมาจารย์ด้านคุณภาพน้ำกล่าวไว้ว่า แทบไม่ต้องใส่เกลืออีกแล้วหากมีน้ำถ่ายอย่างเสมอๆ ยกตัวอย่างการเลี้ยงรันชูที่ถ่ายน้ำกันทุกวัน หรือใส่แค่เพื่อเพิ่มอิออน ในน้ำเท่านั้น แต่ในการเลี้ยงบางกรณีที่เป็นระบบปิดนานๆถึงจะถ่ายน้ำซักครั้ง มักใส่เพื่อผลอย่างอื่นด้วยนั่นคือ การลดความเป็นพิษจากของเสียต่างๆ แบบนี้จะต้องใส่มากขึ้นมาอีกถึง 3 ppt แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะเกลือที่เพิ่มขึ้นหมายถึงร่างกายปลาที่รับภาระมากขึ้นด้วยเช่นกัน 2. ใช้เพื่อรักษาโรค หรือใช้เพื่อกำจัดจุลชีพอื่นๆ กรณีนี้ใส่กันได้แบบกระหน่ำใส่แล้วแต่ชนิดปลา ถ้าปลาทนๆหน่อย อย่างหมอสี ใส่กันถึง 10-12 ppt ก็บ่ยั่น แต่กับปลาทอง 10 ppt ก็น่าหวาดเสียวแล้วครับ หลักเกณฑ์ง่ายๆ และเป็นสากลในการกำจัดปรสิตภายนอกด้วยเกลืออยู่ที่ระดับความเค็ม 5-7 ppt แช่ไปนานทั้งสัปดาห์แล้วค่อยถ่ายน้ำเลยครับ แต่ทั้งนี้ดูอาการง่ายๆ 3-4 วันเข้าไปแล้วเจ้าเชื้อโรค ปรสิตต่างๆที่เกาะอยู่ยังไม่ไปไหนก็หาวิธีอื่นรักษาได้แล้วครับ ก่อนที่จะเสียใจ และเสียดาย