ต้นกำเนิดการทำ ปลากัด Black Star (ดาวเสาร์) By อ.น้อย

betta
ต้นกำเนิดการทำ ปลากัด Black Star (ดาวเสาร์) By อ.น้อย
Jan 26, 2023
by

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด
สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส
สีเกล็ด
แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา
สีด้าน
เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู
สีเงา
เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์

ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง

black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี
1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น
2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา
3.สังเกตุตรงปากของปลา

4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา

และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้
-พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10% 
-หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว

-นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี
-ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย
-พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม

fish-bite
Black Star
fish-bite
Black Star
fish-bite
Black Star

ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Nov 14, 2022

 อาร์ทีเมีย หรือ ไรทะเล  ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย  อาร์ทีเมีย ที่นี้เราพอจะรู้กันแล้วนะว่าอาร์ทีเมียคืออะไรหน้าตาเป็นยังไง ก็จะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย วิธีเป่า อาร์ทีเมีย อาหารอนุบาลลูกปลากัด เรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน 1.ไข่อาร์ทีเมีย (แนะนำเป็นยี่ห้อนกอินทรีย์ ไม่เคยเป่ามาก่อนก็ทำได้ฝักจริง) 2.เกลือสมุทร 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ1ลิตร โดยประมาณ 3.ชุดเป่าอาร์ทีเมีย(ขวดน้ำประมาณ1ลิตร,สายอ๊อกซิเจน,เครื่องอ๊อกซิเจน,วาวปรับละดับความแรงอ๊อกซิเจน) 4.กระชอนแยกเปลือกไข่ 5.อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเป่าไรแดงประมาณ25-30 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่1 ประกอบชุดเป่าอาร์เสร็จแล้วก็จัดการเปิดเครื่องได้เลย ใส่เกลือ2หยิบมือ กับไข่อาร์ทีเมีย1ช้อนชา เป่าทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ชุดเป่า ขั้นตอนที่2 หลังจากเป่าอาร์ทีเมียจนครบ24ชั่วโมงแล้วเราก็เอามาเทใส่กระชอนเพื่อล้างและแยกตัวอ่อนอาร์ทีเมียออกจากเปลือก ทีนี้เราก็จะได้อาร์เมียเอาไว้อนุบาลลูกปลากันแล้ว ง่ายๆแค่2ขั้นตอน ลองทำกันดูนะครับไม่ยาดอย่างที่คิดจริงๆ แค่ลงทุนกับไข่อาร์ทีเมียเกรดดีๆหน่อยรับรองฝีก90% ไม่ต้องไปง้อลูกไรแล้ว อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ ข้อดีของการเป่าอาร์ทีเมีย - สะอาดไม่มีเชื้อโรค100%  - ถึงจะหน้าฝนก็มีอาหารอนุบาลลูกปลา ข้อเสียของการเป่าอาร์ทีเมีย -ราคาสูงไม่เหมาะกับฟาร์มปลากัด ฟาร์มปลาจะนิยมให้ไรแดงมากกว่า -เสียเวลาในการเป่า24ชั่วโมงขึ้นไป <<<< ต้องการสั่งซื้อ อาร์ทีเมีย  >>>>

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta Apr 26, 2021

ปลากัดนิลมังกรคืออะไร สายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นปลาอะไรกัน วันนี้จะมาเลาให้ฟังว่าปลากัดนิลมักรคืออะไร ปลากัดนิลมังกร เป็นปลากัดที่เกล็ดเป็นสีคอปเปอร์ และหนังเป็นสีดำ อ้าว......อย่างนี้ก็คือปลาพวกตรกูลซามูไรนะสิ  ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม แต่.... ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่เลย ปลากัดนิลมังกรคือปลาที่หลุดมาจาก ปลากัด สาย black light ของ อ.น้อย จาก ฟาร์ม Phon betta thailand ขอเน้นเลย นิลมังกรของแท้100%ต้องมาจากปลาหลุดมาจาก black lightสาย อ.น้อย เท่านั้น มีหลายๆคนยังเข้าใจผิดกันว่า นิลมังกร คือปลาตระกูล black samurai      ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก อ.น้อย Phon Betta Thailand  

betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?