ไลฟ์ประมูลปลากัด การปรับตัวของพ่อค้าปลากัด

betta
ไลฟ์ประมูลปลากัด การปรับตัวของพ่อค้าปลากัด
Sep 23, 2019
by

วงการปลากัด มาถึงจุด ไลฟ์ประมูลปลากัด ได้อย่างไร?

เกิดอะไรขึ้นกับการปรับตัวของพ่อค้าปลากัด ช่วงหลังเฟซบุ๊คเข้มงวดเรื่องกฏเกี่ยวกับการทรมานสัตว์และเฟซบุ๊คมองการถ่ายรูปปลากัดขายเป็นการทรมานสัตว์จ้า ผลก็คือเฟซบุ๊คไล่ปิดกลุ่มประมูลปลากัดรัวๆเลยโดนกันถ้วนหน้า เดือนร้อนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้ชื่อชอบปลากัดกันหมด แต่ในวิกฤตย่อมมีหวามหวัง มีพ่อค้าปลาบางส่วนเริ่มปรับตัวจากโพสขายในกลุ่มเฟซบุ๊คเปลี่ยนมา ไลฟ์สดประมูลปลากันในเฟซบุ๊คแทน ผลก็คือได้ผลตอบรับดีพอสมควร นับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานะการณ์และเทรนไทยแลน์4.0 ได้อย่างเฉียบ ปัจจุบันการซื้อขายปลากัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป วันนี้จะมานำเสนอการไลฟ์สดประมูลปลากัดของ อ.น้อย จากฟาร์ม Phon Betta Thailand

ใครสนใจจะร่วมประมูลด้วยก็เข้าไปที่ facebook นครสวรรค์ เขื่อนแม่วงก์ ติดตามการไลฟ์ประมูลปลากัด กันได้ นอกจากจะได้ประมูลปลากัดแล้วยังได้ความรู้เรื่องปลากัดที่ อ.น้อย จะคอยสอนระหว่างการไลฟ์สดอีกด้วย  อ.น้อยจะไลฟ์ประมูลปลากัดทุกวัน พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเวลาตั้งแต่20.30น.เป็นต้นไป แต่บางสัปดาห์ไหนติดธุระ อ.จะงดแต่จะประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊คก่อนครับ

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดประมูลปลากัด

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta Apr 26, 2021

ปลากัดนิลมังกรคืออะไร สายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นปลาอะไรกัน วันนี้จะมาเลาให้ฟังว่าปลากัดนิลมักรคืออะไร ปลากัดนิลมังกร เป็นปลากัดที่เกล็ดเป็นสีคอปเปอร์ และหนังเป็นสีดำ อ้าว......อย่างนี้ก็คือปลาพวกตรกูลซามูไรนะสิ  ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม แต่.... ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่เลย ปลากัดนิลมังกรคือปลาที่หลุดมาจาก ปลากัด สาย black light ของ อ.น้อย จาก ฟาร์ม Phon betta thailand ขอเน้นเลย นิลมังกรของแท้100%ต้องมาจากปลาหลุดมาจาก black lightสาย อ.น้อย เท่านั้น มีหลายๆคนยังเข้าใจผิดกันว่า นิลมังกร คือปลาตระกูล black samurai      ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก อ.น้อย Phon Betta Thailand  

betta Oct 1, 2019

ประวัติปลากัด (Siamese Fighting Fish) ปี พ.ศ. 2383 พระมหากษัตริย์ไทยได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ จากสถาบันเบนเกลเมดิคอล เซอร์วิสของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นวาดภาพ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ ปลากัดไว้ ในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ ได้ตั้งชื่อให้ว่า Macropodus pugnax, Var. แต่พบว่าเกิดความสับสนระหว่างชนิดปลากัดกับปลาชนิดอื่นที่มีการค้นพบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันบ่อย ทำให้มีการตรวจสอบอีกครั้งในปี พ.ศ.2452 โดย ซี. เท็ด เรแกน และได้ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ปลากัดว่า Betta splendens หมายถึง นักรบผู้สง่างาม พบหลักฐานบันทึกถึงการเริ่มนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรป ปี พ.ศ. 2414 โดยมีการเพาะสำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ได้นำเข้าไปในเยอรมันนี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453 ประวัติปลากัดไทย ลักษณะโดยทั่วไป ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก และค่อนชี้ขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีกระดูกอยู่ที่ด้านหน้าช่องตา (preorbital) และมีเกล็ดละเอียดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้งส่วนหัว และตัว ความยาวจากจงอยปากถึงโคนครีบหาง ยาวประมาณ 2.9 – 3.3 เท่า ของความกว้างของลำตัว และ 3.0 – 3.3 เท่าของความยาวหัว หรือมีขนาดได้ไม่เกิน 6 เซนติเมตร ครีบหลังอยู่ค่อนทางด้านหาง  ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 – 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 – 9 ก้าน ฐานครีบก้นยาวที่เริ่มจากครีบท้องถึงโคนครีบหาง โดยประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 2 – 4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21 – 24 ก้าน ส่วนครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ทั้งนี้ ปลากัดจะไม่มีเส้นข้างตัว ส่วนสีเกล็ดหรือลำตัวมีหลายสี เช่น แดง คราม เขียว นํ้าเงิน และสีผสมต่างๆ โดยพบว่า สีของเพศผู้จะมีสีสวยงามกว่าเพศเมีย ปลากัดมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจร่วมกับเหงือก เรียกว่า Labyrinth organ ซึ่งจะอยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกอ่อนบาง ๆ เรียงซ้อนทับไปมา และมีรอยหยักคล้ายดอกเห็ดหูหนูขาว บนแผ่นจะประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงจากอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือก จึงเป็นความพิเศษที่ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้ ซึ่งจะเริ่มมีเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน โดยธรรมชาติ ปลากัดจะมีนิสัยก้าวร้าว และหวงถิ่น มีนิสัยชอบกัดต่อสู้กัน ซึ่งพบได้มากในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้ยังมีนิสัยชอบทำร้ายปลากัดเพศเมีย พฤติกรรมนี้จะแสดงออกเมื่อมีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือน ประวัติปลากัดไทย พันธุ์ปลากัด ปลากัดที่พบในธรรมชาติในช่วงแรกๆ จะมีสีเพียงไม่กี่สี คือ สีนํ้าตาลขุ่น และสีเทาแกมเขียว มีลักษณะครีบ และหางสั้น โดยเพศผู้จะมีครีบ และหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย ต่อมาได้มีการเพาะพัฒนาสายพันธุ์จนกระทั่งมีครีบแผ่ใหญ่ และสวยงามมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ในปัจจุบันมีการจำแนกปลากัดออกเป็นหลายชนิด ปลากัดมีกี่ชนิด ? 1. ปลากัดลูกป่า/ปลากัดทุ่ง เป็นปลากัดที่พบได้ตามธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวเล็ก บอบบาง ครีบ และหางสั้น มีสีนํ้าตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว เป็นสีไม่ค่อยสวย และไม่ทนทานในการกัดเท่าปลากัดลูกหม้อ โดยเวลากัดกันจะใช้เวลาน้อยมาก 2. ปลากัดลูกหม้อ/ปลากัดไทย/ปลากัดครีบสั้น เป็นปลากัดพัฒนามาจากการเพาะเลี้ยง และการคัดพันธุ์มาหลายชั่วอายุ เพื่อการกัดต่อสู้โดยเฉพาะ มีรูปร่างลำตัวที่โตกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม  มีลักษณะปากใหญ่ ว่ายนํ้าปราดเปรียว สีสันสวยงามหลากสี เช่น สีแดงเข้ม นํ้าเงินเข้ม นํ้าตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีต่างๆ ปลาชนิดนี้กัดได้ทรหดยิ่งกว่าชนิดอื่น ใช้เวลาในการกัดนาน จึงนิยมเลี้ยงมากกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม โดยแบ่งประเภทของปลากัดลูกหม้อตามรูปร่างของร่างกาย ได้แก่ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาช่อน มีลัษณะลำตัวยาว  ทรงกระบอก คล้ายปลาช่อน มีหน้าสั้น ช่วงหัวยาวและโคนหางใหญ่ ถือเป็นปลาที่มีลีลาการต่อสู้ที่ดุดัน และมีพละกำลังมาก มีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่งในเวทีต่างๆ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาหม้อ มีลัษณะลำตัวสั้น หนา ลำตัวกว้างหนาเมื่อมองจากทางด้านข้าง และด้านบน ลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาหมอไทย เป็นปลาที่ทรหด และว่องไวในการกัด – ปลากัดลูกหม้อทรงปลากราย มีลัษณะมีหน้างอนขึ้น ลำตัวสั้นแบน เป็นปลาที่คล่องแคล่ว และว่องไวในการกัด และมีประวัติการกัดที่ยอดเยี่ยม 3. ปลากัดลูกผสม ปลากัดลูกผสมมีชื่ออีกอย่างว่า ลูกสังกะสี หรือลูกตะกั่ว เป็นปลาที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกทุ่งกับปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวที่เกิดจากการผสม มีความอดทนในการต่อสู้เหมือนกับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี  เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และนำมากัดพนันกันมากไม่แพ้ปลากัดลูกหม้อ 4. ปลากัดจีน/ปลากัดครีบยาว/ปลากัดเขมร เป็นพันธุ์ปลากัดที่ค้นพบโดยนักเพาะพันธุ์ปลากัดหม้อ โดยพบบังเอิญขณะที่พัฒนาปลากัดให้ได้ลักษณะครีบยาว ใหญ่ และให้มีหลากหลายสีที่สวยงาม จนได้ปลากัดที่มีลักษณะหางเป็นพวง คล้ายปลาทอง สีของปลากัดชนิดนี้ ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวม่วง สีนํ้าเงิน ฯลฯ รวมถึงการผสมหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ถือเป็นปลากัดที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในแถบภาคกลาง และภาคตะวันตก เช่น ปทุมธานี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น รูปแบบสีปลากัด 1. สีเดียว (solid color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีเดียวกันทั้งหมดทั้งครีบ และลำตัว โดยไม่มีสีอื่นแต้มหรือปะปน ยกเว้นเขม่าดำที่พบจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบ และขอบเกล็ด ส่วนตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ แต่ปลากัดเผือกที่ลำตัว และครีบท้องจะมีสีอื่นไม่ได้ ส่วนครีบหูนั้น อนุโลมให้เป็นครีบกระจก (ครีบที่มีลักษณะใส) ได้ 2. สองสี (bi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีลำตัวสีเดียว และสีครีบสีเดียว ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีสีแตกต่างกัน ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ 3. หลากสี (multi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ทั้งส่วนของลำตัว และครีบ ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนของตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ ลักษณะลำตัวปลากัด แบ่งได้ ดังนี้ 1. รูปทรงปลาช่อน จะมีลักษณะลำตัวยาว หัวใหญ่เหมือนปลาช่อน รูปร่างเพรียว 2. รูปทรงปลาหมอ จะมีลักษณะตัวสั้น และค่อนข้างอ้วน 3. รูปทรงปลากราย จะมีลักษณะหน้าเชิด ลำตัวตรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะผอมบาง มีครีบอก และครีบก้นยาว 4. รูปทรงปลาตะเพียน จะมีลักษณะลำตัวป้อม และครีบยาวสวยงาม รูปแบบครีบหาง แบ่งได้ ดังนี้ – หางรูปสามเหลี่ยม (delta tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และแผ่โค้ง ปลายหางกลมมน ก้านครีบตรงถึงปลาย – หางหวีหรือหนามเตย (comb tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และยาว บริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้องมีลักษณะเป็นหนาม – หางมงกุฎ (crown tail) ครีบหางจะยาวมากกว่าแบบหางหวี ก้านครีบที่แผ่ออกจะตั้งตรงตั้งแต่โคนครีบหางถึงปลายครีบหาง และจะพบลักษณะเป็นหนามบริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้อง ก้านครีบหางเป็นทั้งก้านครีบเดี่ยวหรือก้านครีบคู่ – หางคู่ (double tail) ครีบหางจะมีลักษณะสองแฉก การเลี้ยงปลากัด 1. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด การเลี้ยงปลากัดเพื่อเพาะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเลือกลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือนขึ้นไป ด้วยการเลือกคุณสมบัติในเชิงต่อสู้ ซึ่งมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวขณะเลี้ยง แล้วรีบแยกเลี้ยงในภาชนะเพียงตัวเดียว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ก่อนจะเลี้ยงรวมกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ วิธีสังเกตุเพศปลากัด – ดูสี ปลากัดเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย ลายบนลำตัวเด่นชัดกว่าตัวเมีย ซึ่งจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป – ดูครีบ และกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าตัวเมีย และกระโดงยาวไปจรดหาง ส่วนตัวเมียกระโดงจะสั้นกว่า – ดูท่อนำไข่ หากมีจุดขาวบริเวณใต้ท้องจะเป็นตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดของท่อนำไข่ – ดูปาก ปลากัดที่มีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นตัวผู้ ซึ่งใช้สังเกตได้ตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 20 วัน – ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียในช่วงอายุที่เท่ากัน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัด ควรเป็นภาชนะขนาดเล็ก และปากไม่เปิดกว้างมาก เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา และป้องกันศัตรูที่อาจจับกินปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ และควรจัดทำเป็นชั้นวางขวดเพื่อประหยัดพื้นที่ และช่วยให้สะดวกในการจัดการ การให้อาหาร พื้นที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากจะมีผลกระทบต่อปลากัดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายได้ง่ายหากอุณหภูมิสูง (อุณหภูมินํ้าไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ) และอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปลาไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเช่นกัน นํ้าที่เลี้ยงต้องปราศจากคลอรีน ควรเป็นน้ำบ่อธรรมชาติหรือน้ำบาดาล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประปา ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 6.5 – 7.5 ความกระด้าง (hardness) 75 – 100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (alkalinity) 150 – 200 มิลลิกรัม/ลิตร

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด