ประวัติปลากัด (Siamese Fighting Fish)
ปี พ.ศ. 2383 พระมหากษัตริย์ไทยได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ จากสถาบันเบนเกลเมดิคอล เซอร์วิสของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นวาดภาพ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
ปลากัดไว้ ในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ ได้ตั้งชื่อให้ว่า Macropodus pugnax, Var. แต่พบว่าเกิดความสับสนระหว่างชนิดปลากัดกับปลาชนิดอื่นที่มีการค้นพบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันบ่อย ทำให้มีการตรวจสอบอีกครั้งในปี พ.ศ.2452 โดย ซี. เท็ด เรแกน และได้ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ปลากัดว่า Betta splendens หมายถึง นักรบผู้สง่างาม
พบหลักฐานบันทึกถึงการเริ่มนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรป ปี พ.ศ. 2414 โดยมีการเพาะสำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ได้นำเข้าไปในเยอรมันนี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453
ลักษณะโดยทั่วไป
ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก และค่อนชี้ขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีกระดูกอยู่ที่ด้านหน้าช่องตา (preorbital) และมีเกล็ดละเอียดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้งส่วนหัว และตัว ความยาวจากจงอยปากถึงโคนครีบหาง ยาวประมาณ 2.9 – 3.3 เท่า ของความกว้างของลำตัว และ 3.0 – 3.3 เท่าของความยาวหัว หรือมีขนาดได้ไม่เกิน 6 เซนติเมตร
ครีบหลังอยู่ค่อนทางด้านหาง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 – 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 – 9 ก้าน ฐานครีบก้นยาวที่เริ่มจากครีบท้องถึงโคนครีบหาง โดยประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 2 – 4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21 – 24 ก้าน ส่วนครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ทั้งนี้ ปลากัดจะไม่มีเส้นข้างตัว ส่วนสีเกล็ดหรือลำตัวมีหลายสี เช่น แดง คราม เขียว นํ้าเงิน และสีผสมต่างๆ โดยพบว่า สีของเพศผู้จะมีสีสวยงามกว่าเพศเมีย
ปลากัดมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจร่วมกับเหงือก เรียกว่า Labyrinth organ ซึ่งจะอยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกอ่อนบาง ๆ เรียงซ้อนทับไปมา และมีรอยหยักคล้ายดอกเห็ดหูหนูขาว บนแผ่นจะประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงจากอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือก จึงเป็นความพิเศษที่ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้ ซึ่งจะเริ่มมีเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน
โดยธรรมชาติ ปลากัดจะมีนิสัยก้าวร้าว และหวงถิ่น มีนิสัยชอบกัดต่อสู้กัน ซึ่งพบได้มากในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้ยังมีนิสัยชอบทำร้ายปลากัดเพศเมีย พฤติกรรมนี้จะแสดงออกเมื่อมีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือน
พันธุ์ปลากัด
ปลากัดที่พบในธรรมชาติในช่วงแรกๆ จะมีสีเพียงไม่กี่สี คือ สีนํ้าตาลขุ่น และสีเทาแกมเขียว มีลักษณะครีบ และหางสั้น โดยเพศผู้จะมีครีบ และหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย ต่อมาได้มีการเพาะพัฒนาสายพันธุ์จนกระทั่งมีครีบแผ่ใหญ่ และสวยงามมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ในปัจจุบันมีการจำแนกปลากัดออกเป็นหลายชนิด
ปลากัดมีกี่ชนิด ?
1. ปลากัดลูกป่า/ปลากัดทุ่ง
เป็นปลากัดที่พบได้ตามธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวเล็ก บอบบาง ครีบ และหางสั้น มีสีนํ้าตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว เป็นสีไม่ค่อยสวย และไม่ทนทานในการกัดเท่าปลากัดลูกหม้อ โดยเวลากัดกันจะใช้เวลาน้อยมาก
2. ปลากัดลูกหม้อ/ปลากัดไทย/ปลากัดครีบสั้น
เป็นปลากัดพัฒนามาจากการเพาะเลี้ยง และการคัดพันธุ์มาหลายชั่วอายุ เพื่อการกัดต่อสู้โดยเฉพาะ มีรูปร่างลำตัวที่โตกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม มีลักษณะปากใหญ่ ว่ายนํ้าปราดเปรียว สีสันสวยงามหลากสี เช่น สีแดงเข้ม นํ้าเงินเข้ม นํ้าตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีต่างๆ ปลาชนิดนี้กัดได้ทรหดยิ่งกว่าชนิดอื่น ใช้เวลาในการกัดนาน จึงนิยมเลี้ยงมากกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม โดยแบ่งประเภทของปลากัดลูกหม้อตามรูปร่างของร่างกาย ได้แก่
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลาช่อน มีลัษณะลำตัวยาว ทรงกระบอก คล้ายปลาช่อน มีหน้าสั้น ช่วงหัวยาวและโคนหางใหญ่ ถือเป็นปลาที่มีลีลาการต่อสู้ที่ดุดัน และมีพละกำลังมาก มีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่งในเวทีต่างๆ
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลาหม้อ มีลัษณะลำตัวสั้น หนา ลำตัวกว้างหนาเมื่อมองจากทางด้านข้าง และด้านบน ลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาหมอไทย เป็นปลาที่ทรหด และว่องไวในการกัด
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลากราย มีลัษณะมีหน้างอนขึ้น ลำตัวสั้นแบน เป็นปลาที่คล่องแคล่ว และว่องไวในการกัด และมีประวัติการกัดที่ยอดเยี่ยม
3. ปลากัดลูกผสม
ปลากัดลูกผสมมีชื่ออีกอย่างว่า ลูกสังกะสี หรือลูกตะกั่ว เป็นปลาที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกทุ่งกับปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวที่เกิดจากการผสม มีความอดทนในการต่อสู้เหมือนกับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และนำมากัดพนันกันมากไม่แพ้ปลากัดลูกหม้อ
4. ปลากัดจีน/ปลากัดครีบยาว/ปลากัดเขมร
เป็นพันธุ์ปลากัดที่ค้นพบโดยนักเพาะพันธุ์ปลากัดหม้อ โดยพบบังเอิญขณะที่พัฒนาปลากัดให้ได้ลักษณะครีบยาว ใหญ่ และให้มีหลากหลายสีที่สวยงาม จนได้ปลากัดที่มีลักษณะหางเป็นพวง คล้ายปลาทอง สีของปลากัดชนิดนี้ ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวม่วง สีนํ้าเงิน ฯลฯ รวมถึงการผสมหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ถือเป็นปลากัดที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในแถบภาคกลาง และภาคตะวันตก เช่น ปทุมธานี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น
รูปแบบสีปลากัด
1. สีเดียว (solid color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีเดียวกันทั้งหมดทั้งครีบ และลำตัว โดยไม่มีสีอื่นแต้มหรือปะปน ยกเว้นเขม่าดำที่พบจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบ และขอบเกล็ด ส่วนตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ แต่ปลากัดเผือกที่ลำตัว และครีบท้องจะมีสีอื่นไม่ได้ ส่วนครีบหูนั้น อนุโลมให้เป็นครีบกระจก (ครีบที่มีลักษณะใส) ได้
2. สองสี (bi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีลำตัวสีเดียว และสีครีบสีเดียว ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีสีแตกต่างกัน ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้
3. หลากสี (multi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ทั้งส่วนของลำตัว และครีบ ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนของตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้
ลักษณะลำตัวปลากัด แบ่งได้ ดังนี้
1. รูปทรงปลาช่อน จะมีลักษณะลำตัวยาว หัวใหญ่เหมือนปลาช่อน รูปร่างเพรียว
2. รูปทรงปลาหมอ จะมีลักษณะตัวสั้น และค่อนข้างอ้วน
3. รูปทรงปลากราย จะมีลักษณะหน้าเชิด ลำตัวตรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะผอมบาง มีครีบอก และครีบก้นยาว
4. รูปทรงปลาตะเพียน จะมีลักษณะลำตัวป้อม และครีบยาวสวยงาม
รูปแบบครีบหาง แบ่งได้ ดังนี้
– หางรูปสามเหลี่ยม (delta tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และแผ่โค้ง ปลายหางกลมมน ก้านครีบตรงถึงปลาย
– หางหวีหรือหนามเตย (comb tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และยาว บริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้องมีลักษณะเป็นหนาม
– หางมงกุฎ (crown tail) ครีบหางจะยาวมากกว่าแบบหางหวี ก้านครีบที่แผ่ออกจะตั้งตรงตั้งแต่โคนครีบหางถึงปลายครีบหาง และจะพบลักษณะเป็นหนามบริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้อง ก้านครีบหางเป็นทั้งก้านครีบเดี่ยวหรือก้านครีบคู่
– หางคู่ (double tail) ครีบหางจะมีลักษณะสองแฉก
การเลี้ยงปลากัด
1. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
การเลี้ยงปลากัดเพื่อเพาะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเลือกลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือนขึ้นไป ด้วยการเลือกคุณสมบัติในเชิงต่อสู้ ซึ่งมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวขณะเลี้ยง แล้วรีบแยกเลี้ยงในภาชนะเพียงตัวเดียว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ก่อนจะเลี้ยงรวมกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์
วิธีสังเกตุเพศปลากัด
– ดูสี
ปลากัดเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย ลายบนลำตัวเด่นชัดกว่าตัวเมีย ซึ่งจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป
– ดูครีบ และกระโดง
ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าตัวเมีย และกระโดงยาวไปจรดหาง ส่วนตัวเมียกระโดงจะสั้นกว่า
– ดูท่อนำไข่
หากมีจุดขาวบริเวณใต้ท้องจะเป็นตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดของท่อนำไข่
– ดูปาก
ปลากัดที่มีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นตัวผู้ ซึ่งใช้สังเกตได้ตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 20 วัน
– ดูขนาดลำตัว
ปลาตัวผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียในช่วงอายุที่เท่ากัน
ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัด ควรเป็นภาชนะขนาดเล็ก และปากไม่เปิดกว้างมาก เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา และป้องกันศัตรูที่อาจจับกินปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ และควรจัดทำเป็นชั้นวางขวดเพื่อประหยัดพื้นที่ และช่วยให้สะดวกในการจัดการ การให้อาหาร พื้นที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากจะมีผลกระทบต่อปลากัดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายได้ง่ายหากอุณหภูมิสูง (อุณหภูมินํ้าไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ) และอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปลาไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเช่นกัน
นํ้าที่เลี้ยงต้องปราศจากคลอรีน ควรเป็นน้ำบ่อธรรมชาติหรือน้ำบาดาล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประปา ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 6.5 – 7.5 ความกระด้าง (hardness) 75 – 100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (alkalinity) 150 – 200 มิลลิกรัม/ลิตร
บทความแนะนำ
เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?
เกลือลี้ยงปลา หรือ เกลือสมุทร ถ้าถามว่ายาอะไรเป็นยาสามัญประจำบ้านของปลากัด รวมถึงปลาสวยงามน้ำจืดต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นเกลือ ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เองแต่ลองค้นข้อมูลแล้วไปเจอบท ความนึง คิดว่า อ่านง่ายและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก รวมทั้งได้เนื้อหาค่อนข้างครบนะ เลยไม่เขียนเองล่ะ เอามาให้อ่านกันเลยแล้วกัน ร้าน ขายปลา เซียนเลี้ยงปลา ฟาร์มปลา ไม่ว่าใครๆ เมื่อถามถึงการเลี้ยงปลาว่าต้องใช้สิ่งใดประกอบการเลี้ยงบ้าง ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ่ายน้ำต้องใส่เกลือ ใส่เยอะบ้าง น้อยบ้าง ใส่เกลือชนิดนั้นชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ บางครั้งเกลือเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การใส่เพราะว่าเขาบอกมาว่าจะดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ อาจจะทำให้บางท่านคิดเปลี่ยนไป มองเปลี่ยนไปในการใช้หรือเทคนิคการใช้ แต่อยากให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เข้าใจมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงผมจะรู้เรื่องมากกว่า แต่ผมพยายามรวบรวมมาจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้พบเจอมา เกลือ คือ สารให้ความเค็มอาจจะเกิดจากสารอะไรได้หลายอย่างแต่เกลือที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์น้ำหรือที่ใช้ในการประกอบอาหารของมนุษย์นั้นคือ เกลือแกง ชื่อนี้หมายรวมถึงเกลือจากทุกแหล่งที่มีส่วนประกอบเป็น โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เช่นที่มาจาก น้ำทะเล หรือเกลือสินเธาว์ ที่เราคุ้นเคยล้วนเป็นเกลือแกงทั้งสิ้น เลี้ยงปลาสวยงาม จำเป็นต้องใช้เกลือหรือไม่? จำเป็นครับ ไม่ว่าคุณภาพน้ำจะดีมากน้อยขนาดไหนก็จำเป็น เว้นแต่เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือในการอิงทรัพยากรส่วนใหญ่จากธรรมชาติเพราะ เนื่องจากมีแร่ธาตุและความเค็มเพียงพอแล้ว ไม่นับรวมถึงปลาทะเลสวยงาม เพราะต้องใช้เกลือหรือน้ำทะเลอยู่แล้ว เกลือที่ใช้ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพิ่มความเค็ม และเพิ่มปริมาณไอออนในน้ำ เราควรใช้เกลือขนาดไหนถึงจะดี ? ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวครับว่าจะใช้เกลือเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะหากจะเอาตามหลักวิชาการเป๊ะ ก็คงต้องดูถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเลียงด้วยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประมาณเอาจากความเคยชิน ประสบการณ์ และสภาพปลาที่เลี้ยง การใช้เกลืออาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆเป็น 2 กรณี คือ 1. ใช้เพื่อให้ปลาสบายตัวลดความเครียด กรณีนี้อัตราส่วนการใช้ก็ตั้งแต่ 1 ppm ไปจนถึง 3 ppt เอากันตามหลักวิชาการเลยว่างั้น เพราะในน้ำประปาทั่วไปปรมาจารย์ด้านคุณภาพน้ำกล่าวไว้ว่า แทบไม่ต้องใส่เกลืออีกแล้วหากมีน้ำถ่ายอย่างเสมอๆ ยกตัวอย่างการเลี้ยงรันชูที่ถ่ายน้ำกันทุกวัน หรือใส่แค่เพื่อเพิ่มอิออน ในน้ำเท่านั้น แต่ในการเลี้ยงบางกรณีที่เป็นระบบปิดนานๆถึงจะถ่ายน้ำซักครั้ง มักใส่เพื่อผลอย่างอื่นด้วยนั่นคือ การลดความเป็นพิษจากของเสียต่างๆ แบบนี้จะต้องใส่มากขึ้นมาอีกถึง 3 ppt แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะเกลือที่เพิ่มขึ้นหมายถึงร่างกายปลาที่รับภาระมากขึ้นด้วยเช่นกัน 2. ใช้เพื่อรักษาโรค หรือใช้เพื่อกำจัดจุลชีพอื่นๆ กรณีนี้ใส่กันได้แบบกระหน่ำใส่แล้วแต่ชนิดปลา ถ้าปลาทนๆหน่อย อย่างหมอสี ใส่กันถึง 10-12 ppt ก็บ่ยั่น แต่กับปลาทอง 10 ppt ก็น่าหวาดเสียวแล้วครับ หลักเกณฑ์ง่ายๆ และเป็นสากลในการกำจัดปรสิตภายนอกด้วยเกลืออยู่ที่ระดับความเค็ม 5-7 ppt แช่ไปนานทั้งสัปดาห์แล้วค่อยถ่ายน้ำเลยครับ แต่ทั้งนี้ดูอาการง่ายๆ 3-4 วันเข้าไปแล้วเจ้าเชื้อโรค ปรสิตต่างๆที่เกาะอยู่ยังไม่ไปไหนก็หาวิธีอื่นรักษาได้แล้วครับ ก่อนที่จะเสียใจ และเสียดาย
-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand
ต้นปี2019 วงการปลากัดก็มีเรื่องให้ดีใจและตื่นเต้นพร้อมๆกันเลย หลังจาก ครม.ประกาสอย่างเป็นทางการให้ปลากัดเป็น"สัตว์น้ำประจำชาติ"ไปเรียบร้อย ก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นต่อเลย เพจประมูลปลากัด PlakadThai Group มีปลากัดไทยปิดประมูลไปที่ 20,100บาท โอ้วโห!!! สุดยอดไปเลย แค่ต้นปีก็จัดกันโหดมากๆ ใต้หวอดจะพาไปชมว่าปลากัด เจ้าของราคา 20,100บาท นั้นจะสวยงามแค่ไหน ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท สวยงามใช่ไหมละครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจะพัฒนาปลากัดให้สีสันสวยงามมาไกลถึงเพียงนี้ สุดยอดไปเลยครับ ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของปลาและผู้ประมูลปลากัดได้ด้วยครับ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณ May Betta Farm
สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย