วิธีรักษาปลาหางลีบ

betta
วิธีรักษาปลาหางลีบ
Feb 13, 2020
by

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

betta Jun 26, 2019

ต้นปี2019 วงการปลากัดก็มีเรื่องให้ดีใจและตื่นเต้นพร้อมๆกันเลย หลังจาก ครม.ประกาสอย่างเป็นทางการให้ปลากัดเป็น"สัตว์น้ำประจำชาติ"ไปเรียบร้อย ก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นต่อเลย เพจประมูลปลากัด PlakadThai Group มีปลากัดไทยปิดประมูลไปที่ 20,100บาท โอ้วโห!!! สุดยอดไปเลย แค่ต้นปีก็จัดกันโหดมากๆ ใต้หวอดจะพาไปชมว่าปลากัด เจ้าของราคา 20,100บาท นั้นจะสวยงามแค่ไหน ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท สวยงามใช่ไหมละครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจะพัฒนาปลากัดให้สีสันสวยงามมาไกลถึงเพียงนี้ สุดยอดไปเลยครับ ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของปลาและผู้ประมูลปลากัดได้ด้วยครับ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณ May Betta Farm 

betta Jun 16, 2019

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549 ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549 ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS   *** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ