วิธีรักษาปลาหางลีบ

betta
วิธีรักษาปลาหางลีบ
Feb 13, 2020
by

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand

betta Nov 14, 2022

 อาร์ทีเมีย หรือ ไรทะเล  ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย  อาร์ทีเมีย ที่นี้เราพอจะรู้กันแล้วนะว่าอาร์ทีเมียคืออะไรหน้าตาเป็นยังไง ก็จะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย วิธีเป่า อาร์ทีเมีย อาหารอนุบาลลูกปลากัด เรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน 1.ไข่อาร์ทีเมีย (แนะนำเป็นยี่ห้อนกอินทรีย์ ไม่เคยเป่ามาก่อนก็ทำได้ฝักจริง) 2.เกลือสมุทร 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ1ลิตร โดยประมาณ 3.ชุดเป่าอาร์ทีเมีย(ขวดน้ำประมาณ1ลิตร,สายอ๊อกซิเจน,เครื่องอ๊อกซิเจน,วาวปรับละดับความแรงอ๊อกซิเจน) 4.กระชอนแยกเปลือกไข่ 5.อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเป่าไรแดงประมาณ25-30 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่1 ประกอบชุดเป่าอาร์เสร็จแล้วก็จัดการเปิดเครื่องได้เลย ใส่เกลือ2หยิบมือ กับไข่อาร์ทีเมีย1ช้อนชา เป่าทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ชุดเป่า ขั้นตอนที่2 หลังจากเป่าอาร์ทีเมียจนครบ24ชั่วโมงแล้วเราก็เอามาเทใส่กระชอนเพื่อล้างและแยกตัวอ่อนอาร์ทีเมียออกจากเปลือก ทีนี้เราก็จะได้อาร์เมียเอาไว้อนุบาลลูกปลากันแล้ว ง่ายๆแค่2ขั้นตอน ลองทำกันดูนะครับไม่ยาดอย่างที่คิดจริงๆ แค่ลงทุนกับไข่อาร์ทีเมียเกรดดีๆหน่อยรับรองฝีก90% ไม่ต้องไปง้อลูกไรแล้ว อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ ข้อดีของการเป่าอาร์ทีเมีย - สะอาดไม่มีเชื้อโรค100%  - ถึงจะหน้าฝนก็มีอาหารอนุบาลลูกปลา ข้อเสียของการเป่าอาร์ทีเมีย -ราคาสูงไม่เหมาะกับฟาร์มปลากัด ฟาร์มปลาจะนิยมให้ไรแดงมากกว่า -เสียเวลาในการเป่า24ชั่วโมงขึ้นไป <<<< ต้องการสั่งซื้อ อาร์ทีเมีย  >>>>

betta Oct 22, 2019

  เกลือลี้ยงปลา หรือ เกลือสมุทร ถ้าถามว่ายาอะไรเป็นยาสามัญประจำบ้านของปลากัด รวมถึงปลาสวยงามน้ำจืดต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นเกลือ ตอนแรกว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้เองแต่ลองค้นข้อมูลแล้วไปเจอบท ความนึง คิดว่า อ่านง่ายและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก รวมทั้งได้เนื้อหาค่อนข้างครบนะ เลยไม่เขียนเองล่ะ เอามาให้อ่านกันเลยแล้วกัน ร้าน ขายปลา เซียนเลี้ยงปลา ฟาร์มปลา ไม่ว่าใครๆ เมื่อถามถึงการเลี้ยงปลาว่าต้องใช้สิ่งใดประกอบการเลี้ยงบ้าง ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ่ายน้ำต้องใส่เกลือ ใส่เยอะบ้าง น้อยบ้าง ใส่เกลือชนิดนั้นชนิดนี้ แต่รู้หรือไม่ บางครั้งเกลือเป็นอะไรที่มากกว่าแค่การใส่เพราะว่าเขาบอกมาว่าจะดี มีประโยชน์อะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ อาจจะทำให้บางท่านคิดเปลี่ยนไป มองเปลี่ยนไปในการใช้หรือเทคนิคการใช้ แต่อยากให้เปลี่ยนไปในทางที่ดี เข้าใจมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงผมจะรู้เรื่องมากกว่า แต่ผมพยายามรวบรวมมาจากประสบการณ์ และความรู้ที่ได้พบเจอมา เกลือ คือ สารให้ความเค็มอาจจะเกิดจากสารอะไรได้หลายอย่างแต่เกลือที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์น้ำหรือที่ใช้ในการประกอบอาหารของมนุษย์นั้นคือ เกลือแกง ชื่อนี้หมายรวมถึงเกลือจากทุกแหล่งที่มีส่วนประกอบเป็น โซเดียม (Na) และคลอไรด์ (Cl) เช่นที่มาจาก น้ำทะเล หรือเกลือสินเธาว์ ที่เราคุ้นเคยล้วนเป็นเกลือแกงทั้งสิ้น เลี้ยงปลาสวยงาม จำเป็นต้องใช้เกลือหรือไม่? จำเป็นครับ ไม่ว่าคุณภาพน้ำจะดีมากน้อยขนาดไหนก็จำเป็น เว้นแต่เป็นการเลี้ยงในบ่อดินหรือในการอิงทรัพยากรส่วนใหญ่จากธรรมชาติเพราะ เนื่องจากมีแร่ธาตุและความเค็มเพียงพอแล้ว ไม่นับรวมถึงปลาทะเลสวยงาม เพราะต้องใช้เกลือหรือน้ำทะเลอยู่แล้ว เกลือที่ใช้ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพิ่มความเค็ม และเพิ่มปริมาณไอออนในน้ำ เราควรใช้เกลือขนาดไหนถึงจะดี ? ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวครับว่าจะใช้เกลือเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะหากจะเอาตามหลักวิชาการเป๊ะ ก็คงต้องดูถึงแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้ในการเลียงด้วยครับ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้การประมาณเอาจากความเคยชิน ประสบการณ์ และสภาพปลาที่เลี้ยง การใช้เกลืออาจจะแบ่งออกได้ง่ายๆเป็น 2 กรณี คือ 1. ใช้เพื่อให้ปลาสบายตัวลดความเครียด กรณีนี้อัตราส่วนการใช้ก็ตั้งแต่ 1 ppm ไปจนถึง 3 ppt เอากันตามหลักวิชาการเลยว่างั้น เพราะในน้ำประปาทั่วไปปรมาจารย์ด้านคุณภาพน้ำกล่าวไว้ว่า แทบไม่ต้องใส่เกลืออีกแล้วหากมีน้ำถ่ายอย่างเสมอๆ ยกตัวอย่างการเลี้ยงรันชูที่ถ่ายน้ำกันทุกวัน หรือใส่แค่เพื่อเพิ่มอิออน ในน้ำเท่านั้น แต่ในการเลี้ยงบางกรณีที่เป็นระบบปิดนานๆถึงจะถ่ายน้ำซักครั้ง มักใส่เพื่อผลอย่างอื่นด้วยนั่นคือ การลดความเป็นพิษจากของเสียต่างๆ แบบนี้จะต้องใส่มากขึ้นมาอีกถึง 3 ppt แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะเกลือที่เพิ่มขึ้นหมายถึงร่างกายปลาที่รับภาระมากขึ้นด้วยเช่นกัน 2. ใช้เพื่อรักษาโรค หรือใช้เพื่อกำจัดจุลชีพอื่นๆ กรณีนี้ใส่กันได้แบบกระหน่ำใส่แล้วแต่ชนิดปลา ถ้าปลาทนๆหน่อย อย่างหมอสี ใส่กันถึง 10-12 ppt ก็บ่ยั่น แต่กับปลาทอง 10 ppt ก็น่าหวาดเสียวแล้วครับ หลักเกณฑ์ง่ายๆ และเป็นสากลในการกำจัดปรสิตภายนอกด้วยเกลืออยู่ที่ระดับความเค็ม 5-7 ppt แช่ไปนานทั้งสัปดาห์แล้วค่อยถ่ายน้ำเลยครับ แต่ทั้งนี้ดูอาการง่ายๆ 3-4 วันเข้าไปแล้วเจ้าเชื้อโรค ปรสิตต่างๆที่เกาะอยู่ยังไม่ไปไหนก็หาวิธีอื่นรักษาได้แล้วครับ ก่อนที่จะเสียใจ และเสียดาย

betta Apr 5, 2023

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด - พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์  พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ -ภาชนะเพาะปลากัด ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้ -ใบตอง หรือ ใบหูกวาง ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร) ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด 1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์ 2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน 3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70% 4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน  ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่ 5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว  แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง   ผสมพันธุ์ ปลากัด   ผสมพันธุ์ ปลากัด ไข่ปลากัด ไข่ปลากัด ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก