การเพาะพันธุ์ปลากัด

betta
การเพาะพันธุ์ปลากัด
Apr 5, 2023
by

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด
- พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์ 
พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ

-ภาชนะเพาะปลากัด
ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้

-ใบตอง หรือ ใบหูกวาง
ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร)

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด

1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์


2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน


3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70%


4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน 
ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่


5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว 
แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta

การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

Tag
Siamese Fighting Fishเพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Feb 13, 2020

สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย  วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ

betta Feb 13, 2019

 ก่อนที่งานประกวดของ Thailand Betta Club จะมาถึง เรามาลองดูพื้นฐานของสีปลากัดกันครับ  นี่เป็นตารางสีที่ผมเคยได้รับสอนตั่งแต่ผมเข้ามาเลี้ยงปลากัดใหม่เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว โดยมาตรฐานของIBCจะแบ่งสีพื้นฐานเป็น4กลุ่ม นั่นก็คือ กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา, กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา, กลุ่มสีอ่อน เงา และ กลุ่มสีเข้ม เงา กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา จะมี เหลือง ส้ม ใส โอเปค และ พาสเทล (สีเนื้อ) กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา จะมี ดำ และ แดง กลุ่มสีอ่อน เงา จะมี ขาวและ ทอง กลุ่มสีเข้ม เงา จะมี คอปเปอร์ น้าเงิน เขียว และ เทา ทีนี้เรามาดูว่าพื้นฐานของสีเดี่ยว ถ้ากรณีเกิดมีสีที่สองขึ้น จะมีข้อเสียอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างปลาสีเดี่ยว แดง สีในกลุ่มสีเข้ม ไม่เงา ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบ คือ เม็ด อีรีต เป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่า อีรีต ที่อยู่ในโทนสว่างเงา จะตัดกับสีแดงที่อยู่ในโทนเข้มไม่เงา ทำให้เกิดความแตกต่างละหว่างสีเข้มและสีสว่างเงา มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าสีที่สองเป็นดำ จะมีตำหนิเหมือนกันแต่น้อยกว่าเม็ดอีรีต เพราะอะไร? ถ้าเรากลับไปดูที่ตารางจะเห็นว่าดำอยู่ในกลุ่มเดียวกับแดง นั่นก็คือกลุ่มเข้มไม่เงา เลยไม่ทำให้เกิดข้อแตกต่างมากละหว่างสีแดงและดำ แต่ทั้งนี้สีที่สองถือว่าเป็นตำหนิหมดบนปลาสีเดี่ยว แต่ผมได้ยกตัวอย่างว่าตำหนิไหนร้ายแรงกว่ากัน ในทางกลับกัน ถ้าเรามีปลาสีเดี่ยวสว่าง อย่างเช่นปลาเหลือง ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบจะกลับกันเลยครับ สีดำจะเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่าเหลืองอยู่ที่โทนสว่าง และ เม็ดอีริดอยู่ที่โทนสว่างเหมือนกัน เลยไม่ทำให้เกิดโทนแตกต่างละหว่างสองสีนี้มาก แต่ถ้าเป็นสีดำที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม จะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันมากครับ เราเลยจะเห็นหลายๆงานที่กรรมการจะเลือกสี ขาว,ใส หรือสีทอง ขึ้นมาก่อนสีอื่นๆ ในกลุ่มสีเดี่ยว ในกรณีที่เลือกเบสในกลุ่ม เพราะว่าสีเหล่านี้ ถ้าไม่มีสีที่สองเลย จะเป็นปลาที่บริสุทธิ์มากๆ สีตะเกียบจะสีเดียวกันหมด ต่างจากสีอื่นที่อาจจะมีขาวตรงปลายตะเกียบบ้าง  ตอนนี้เรามาดูปลาในกลุ่มลวดลายกัน ในกรณีปลาขอบ สีอะไรจะเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด? คำตอบคือการผสมละหว่างกลุ่มสีอ่อนและกลุ่มสีเข้ม การตัดกันละหว่างสองกลุ่มนี้จะทำให้เกิด ความแตกต่างละหว่างสีที่สูง อย่างเช่นปลาน้าเงินในกลุ่มสีเข้ม แต่คริบตัดด้วยสีขาวซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อน การรวมกันของสองสีนี้จะทำให้เกิดสีที่ตัดกันสูงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า High Contrastแล้วถ้าตัดกันละหว่างกลุ่มสีในหมวดเดียวกันละ? เข้มตัดเข้ม หรืออ่อนตัดอ่อน ยกตัวอย่างเช่นแดงตัดกับดำ จะทำให้เกิดขัอแตกต่างละหว่างสีที่ต่าหรือ Low contrast จะไม่ค่อยมีจุดดึงดูดใสสายตาเท่าไหล่นัก. อีกลวดลายนึงนั่นคือ กลุ่มสองสี หรือ Bi color ลำตัวสีนึงคริบสีนึง ควรจะมีลำตัวที่ตัดสีที่ดี อย่างเช่นลำตัวในกลุ่มสีอ่อน ตัดกับคริบที่สีเข้ม หรือสลับกันก็ได้ ตัวอย่างที่ดีมากๆคือ มังกรแดง red dragon ที่มีลำตัวสีขาว ในกลุ่มสีสว่าง ตัดกับคริบสีแดงที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม ทำให้เกิด Hi Contrast การตัดของสองสีสุดคั่ว. แล้วถ้าเป็นแฟนซีทั่วไปละ? ผมจะยกตัวอย่างเช่นปลาโค้ย เคยสังเกตมั้ยว่าโค้ยที่มีสีดำและแดงนั่นสีจะกลืนอยู่มาก แต่ถ้าแค่มีแต้มเหลืองเข้าไปเท่านั้นแหละจะทำให้เด่นขึ้นมาเลย นั่นก็เพราะเหลืองที่อยู่ในกลุ่มสีสว่างได้ไปทำการตัดกับสีแดงกับดำทำให้เด่นขึ้น หรือถ้าเดียวนี้มีการพัฒนาให้มีผสมปลาเครือบเงาแฟนซีเข้ากับปลาโค้ยหนัง จนทำให้เกิดปลาโค้ยที่มีเกล็ดเงาขึ้นตามคริบและลำตัว นั่นทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตาที่สูงมาก เพราะว่าความเงาจะไปตัดกับพื้นหนังของปลาโค้ย อย่างเช่นโค้ยแดงที่มีเกล็ดขาวๆขึ้นตามลำตัว ทำให้เกิดจุดตัดของสีเข้มและอ่อนสูง ผมขอจบพื้นฐานของสีปลากัดอยู่เท่านี้นะครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดเป็นแค่พื้นฐานขั้นต้นของมาตรฐานIBCเท่านั้น สุดท้ายปลาที่สวยที่สุดก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Hui Sarawut

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ