การเลี้ยงปลาหน้าหนาว

betta
การเลี้ยงปลาหน้าหนาว
Nov 26, 2019
by

เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว เราจะดูแลปลากัดที่เรารักกันอย่างไร ทางใต้หวอดจะมานำเสนอแนวทางที่จะดูแลปลากัดในหน้าหนาวกันครับ 

- ย้ายปลามาเลี้ยงในสถานที่ปิด เช่น ในบ้าน ในห้อง 

- ใช้ ฮีตเตอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา

- ลดอาหาร เพราะหน้าหนาวปลาจะเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยลง ถ้าให้อาหารเยอะปลาจะกินไม่หมดน้ำจะเน่า ทำให้ปลาป่วยเป็นโรคและตายได้

- เอาปลาตากแดดช่วงเข้าประมาณ15นาที

-เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น

เพียงแค่นี้ปลากัดที่เรารักก็จะรอดหน้าหนาวไปได้แบบชิวๆ 

 

Tag
ปลากัด

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง

betta Nov 26, 2019

เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว เราจะดูแลปลากัดที่เรารักกันอย่างไร ทางใต้หวอดจะมานำเสนอแนวทางที่จะดูแลปลากัดในหน้าหนาวกันครับ  - ย้ายปลามาเลี้ยงในสถานที่ปิด เช่น ในบ้าน ในห้อง  - ใช้ ฮีตเตอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา - ลดอาหาร เพราะหน้าหนาวปลาจะเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยลง ถ้าให้อาหารเยอะปลาจะกินไม่หมดน้ำจะเน่า ทำให้ปลาป่วยเป็นโรคและตายได้ - เอาปลาตากแดดช่วงเข้าประมาณ15นาที -เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น เพียงแค่นี้ปลากัดที่เรารักก็จะรอดหน้าหนาวไปได้แบบชิวๆ   

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ