ปลากัดป่า ปลาพื้นเมืองในประเทศไทย

betta
ปลากัดป่า ปลาพื้นเมืองในประเทศไทย
Aug 6, 2019
by

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย

ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท

1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง)
พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ)

history betta
ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)
history betta
ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)
history betta
แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง)

ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง 
-ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ
-แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด
-เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้
-ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง

 

2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู)
พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม)
-เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น

3.ปลากัดป่าภาคใต้
พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้
-
ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์"

4.ปลากัดป่ามหาชัย

history betta
ปลากัดป่าภาคตะวันออก


พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที)
ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง
-เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม
-เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก
-ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง

5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก
พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง

history betta
ปลากัดป่าภาคตะวันออก

ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก
-ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์" 

ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta

 

Tag
Siamese Fighting Fishปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Jun 26, 2019

สวัสดีครับพี่น้องผู้ชื่นชอบในปลากัด วันนี้ใต้หวอดจะมานำเสนอความร้อนแรงของ ปลากัด black galaxy ในวันนี้มีการปิดประมูลปลากัดblack galaxyตัวงามไปถึง7,000บาท ราคาปิดอาจจะน้อยกว่าblack galaxyตัวต้นปี ถ้าใครยังจำกันได้ทางใต้หวอดได้นำเสนอไปก่อนหน้าแล้ว  ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ปลากัด black galaxy ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท ต้นปี ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณศิลปิน ปลากัด

betta Jan 26, 2023

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส สีเกล็ด แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา สีด้าน เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู สีเงา เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์ ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี 1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น 2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา 3.สังเกตุตรงปากของปลา 4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้ -พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10%  -หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว -นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี -ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย -พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม Black Star Black Star Black Star ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

betta Jan 28, 2020

Phon betta thailand ผู้บุกเบิกการไลฟ์สดประมูลบนปลากัดบนYoutubeเจ้าแรกในประเทศไทย Phon betta thailandผู้เริ่มต้นจากการไลฟ์สดประมูลปลากัดบนFacebook แต่ผิดกฏมาตราฐานการห้ามขายสัตว์บนfacebook จึงได้ปรับตัวมาไลฟ์สดบน Youtube แทน ซึ่งความเสถียรของระบบไลฟ์สด Youtuberทำได้ดีกว่าFacebookซะด้วย ถือว่าPhon betta thailand ได้ช่วยบุกเบิกอีกหนึ่งช่องทางซื้อขายปลากัดให้กับพี่น้องวงการปลากัดได้สำเร็จ  สำหรับผู้สนใจจะไลฟ์ประมูลปลากัด กด ได้เลย ไลฟ์สดปลากัดกับ อ.น้อย  ปลาเกรดคุณภาพทุกตัว ถ้าแชร์ไลฟ์บนfacebookจะแถมตัวเมียให้ทุกคู่ด้วยนะ คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม "ลด แลก แจก แถม" มากมายในไลฟ์สด ไม่ได้อวยแต่คือเรื่องจริง   

betta Jun 16, 2019

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549 ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549 ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS   *** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ