ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย
ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง)
พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ)
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง
-ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ
-แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด
-เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้
-ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง
2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู)
พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม)
-เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น
3.ปลากัดป่าภาคใต้
พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์"
4.ปลากัดป่ามหาชัย
พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระ
ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย
-ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง
-เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม
-เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก
-ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ
-ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง
5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก
พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง
ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก
-ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้
-เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น
-ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง
-ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก
-ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก
-ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"
ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta
บทความแนะนำ
สวัสดีครับ บทความนี้ทางใต้หวอดจะมาแนะนำการรักษาปลากัดหางลีบ หรือ หางห่อกัน เมื่อปลากัดที่เรารักเกิดอาการป๋วย ผู้รักปลากัดทุกคนคงจะไม่สบายใจ โดยเฉพาะอาการหางลีบ หางห่อ ที่เป็นโรคฮิตของปลากัดเลย วิธีการรักษาจะมีขั้นตอนอย่างไร ใช้ยาตัวไหน คลิกเข้าไปชมในคลิปด้านล่างได้เลย
ต้นปี2019 วงการปลากัดก็มีเรื่องให้ดีใจและตื่นเต้นพร้อมๆกันเลย หลังจาก ครม.ประกาสอย่างเป็นทางการให้ปลากัดเป็น"สัตว์น้ำประจำชาติ"ไปเรียบร้อย ก็มีเรื่องให้ตื่นเต้นต่อเลย เพจประมูลปลากัด PlakadThai Group มีปลากัดไทยปิดประมูลไปที่ 20,100บาท โอ้วโห!!! สุดยอดไปเลย แค่ต้นปีก็จัดกันโหดมากๆ ใต้หวอดจะพาไปชมว่าปลากัด เจ้าของราคา 20,100บาท นั้นจะสวยงามแค่ไหน ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท ปลากัด 20,100บาท สวยงามใช่ไหมละครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยจะพัฒนาปลากัดให้สีสันสวยงามมาไกลถึงเพียงนี้ สุดยอดไปเลยครับ ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของปลาและผู้ประมูลปลากัดได้ด้วยครับ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา คุณ May Betta Farm
วงการปลากัด มาถึงจุด ไลฟ์ประมูลปลากัด ได้อย่างไร? เกิดอะไรขึ้นกับการปรับตัวของพ่อค้าปลากัด ช่วงหลังเฟซบุ๊คเข้มงวดเรื่องกฏเกี่ยวกับการทรมานสัตว์และเฟซบุ๊คมองการถ่ายรูปปลากัดขายเป็นการทรมานสัตว์จ้า ผลก็คือเฟซบุ๊คไล่ปิดกลุ่มประมูลปลากัดรัวๆเลยโดนกันถ้วนหน้า เดือนร้อนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้ชื่อชอบปลากัดกันหมด แต่ในวิกฤตย่อมมีหวามหวัง มีพ่อค้าปลาบางส่วนเริ่มปรับตัวจากโพสขายในกลุ่มเฟซบุ๊คเปลี่ยนมา ไลฟ์สดประมูลปลากันในเฟซบุ๊คแทน ผลก็คือได้ผลตอบรับดีพอสมควร นับเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสถานะการณ์และเทรนไทยแลน์4.0 ได้อย่างเฉียบ ปัจจุบันการซื้อขายปลากัด ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านอีกต่อไป วันนี้จะมานำเสนอการไลฟ์สดประมูลปลากัดของ อ.น้อย จากฟาร์ม Phon Betta Thailand ใครสนใจจะร่วมประมูลด้วยก็เข้าไปที่ facebook นครสวรรค์ เขื่อนแม่วงก์ ติดตามการไลฟ์ประมูลปลากัด กันได้ นอกจากจะได้ประมูลปลากัดแล้วยังได้ความรู้เรื่องปลากัดที่ อ.น้อย จะคอยสอนระหว่างการไลฟ์สดอีกด้วย อ.น้อยจะไลฟ์ประมูลปลากัดทุกวัน พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ช่วงเวลาตั้งแต่20.30น.เป็นต้นไป แต่บางสัปดาห์ไหนติดธุระ อ.จะงดแต่จะประกาศผ่านหน้าเฟซบุ๊คก่อนครับ
อาร์ทีเมีย หรือ ไรทะเล ไรน้ำเค็ม หรือ ไรน้ำสีน้ำตาล (Brine shrimp, Sea-monkey) เป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไรทะเล เป็นครัสเตเชียน ในสกุล Artemia ถือกำเนิดในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมานานกว่า 5.5 ล้านปีมาแล้ว ลักษณะเป็นสัตว์สีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลส้ม ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2-7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้าที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่ ไรทะเลสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 300-500 ฟอง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์, ความสมบูรณ์ของไรทะเล หรืออุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่อาศัย ใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในการฟักเป็นตัว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ไรทะเล มีถิ่นกำเนิดในทะเลสาบน้ำเค็ม ในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และจีน ไม่พบในประเทศไทย อาร์ทีเมีย ที่นี้เราพอจะรู้กันแล้วนะว่าอาร์ทีเมียคืออะไรหน้าตาเป็นยังไง ก็จะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อเลย วิธีเป่า อาร์ทีเมีย อาหารอนุบาลลูกปลากัด เรามาเตรียมอุปกรณ์กันก่อน 1.ไข่อาร์ทีเมีย (แนะนำเป็นยี่ห้อนกอินทรีย์ ไม่เคยเป่ามาก่อนก็ทำได้ฝักจริง) 2.เกลือสมุทร 1ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ1ลิตร โดยประมาณ 3.ชุดเป่าอาร์ทีเมีย(ขวดน้ำประมาณ1ลิตร,สายอ๊อกซิเจน,เครื่องอ๊อกซิเจน,วาวปรับละดับความแรงอ๊อกซิเจน) 4.กระชอนแยกเปลือกไข่ 5.อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเป่าไรแดงประมาณ25-30 องศาเซลเซียส ขั้นตอนที่1 ประกอบชุดเป่าอาร์เสร็จแล้วก็จัดการเปิดเครื่องได้เลย ใส่เกลือ2หยิบมือ กับไข่อาร์ทีเมีย1ช้อนชา เป่าทิ้งไว้ 24ชั่วโมง ชุดเป่า ขั้นตอนที่2 หลังจากเป่าอาร์ทีเมียจนครบ24ชั่วโมงแล้วเราก็เอามาเทใส่กระชอนเพื่อล้างและแยกตัวอ่อนอาร์ทีเมียออกจากเปลือก ทีนี้เราก็จะได้อาร์เมียเอาไว้อนุบาลลูกปลากันแล้ว ง่ายๆแค่2ขั้นตอน ลองทำกันดูนะครับไม่ยาดอย่างที่คิดจริงๆ แค่ลงทุนกับไข่อาร์ทีเมียเกรดดีๆหน่อยรับรองฝีก90% ไม่ต้องไปง้อลูกไรแล้ว อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ อาร์ทีเมียร์ ข้อดีของการเป่าอาร์ทีเมีย - สะอาดไม่มีเชื้อโรค100% - ถึงจะหน้าฝนก็มีอาหารอนุบาลลูกปลา ข้อเสียของการเป่าอาร์ทีเมีย -ราคาสูงไม่เหมาะกับฟาร์มปลากัด ฟาร์มปลาจะนิยมให้ไรแดงมากกว่า -เสียเวลาในการเป่า24ชั่วโมงขึ้นไป <<<< ต้องการสั่งซื้อ อาร์ทีเมีย >>>>
__________" เจ้าไตรรงค์ " ______________ ปลากัด ที่มีราคาค่าตัว แพงที่สุด ในตอนนี้ ที่ทุกคนกล่าวถึง ย้อนกลับไปปี57 ได้มีการปิดประมูลปลากัดลายธงชาติไทยตัวนี้ไปในราคา53,500 บาท เป็นการปลุกกระแสตลาดปลากัดไทยในช่วงนั้นให้คึกคักอย่างมาก ปลากัดสีธงชาติคือปลากัดในประเภทแฟนซีที่มี3สีในตัวเดียว คือมีสีแดง น้ำเงิน และขาว ในปัจจุบันการทำปลากัดลายธงชาติที่มีเลือดนิ่งๆยังยากอยู่ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนไทยแน่นอนครับ ประกัดสัตว์น้ำประจำชาติไทยต้องไปให้สุดอย่าหยุดการพัฒนาแค่นี้ ทางใต้หวอดจึงอยากจะนำเสนอ ศิลปะบนตัว บนตัว "เจ้าไตรรงค์ " อีกครั้งว่าสวยงามขนาดไหน ปลากัดไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ปลากัดลายธงชาติ หรือ "เจ้าไตรรงค์" ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ ปลากัดลายธงชาติ ขอบคุณเจ้าของภาพและเจ้าของปลา Shutter-Prince