ก่อนที่งานประกวดของ Thailand Betta Club จะมาถึง เรามาลองดูพื้นฐานของสีปลากัดกันครับ
นี่เป็นตารางสีที่ผมเคยได้รับสอนตั่งแต่ผมเข้ามาเลี้ยงปลากัดใหม่เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว
โดยมาตรฐานของIBCจะแบ่งสีพื้นฐานเป็น4กลุ่ม นั่นก็คือ
กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา, กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา, กลุ่มสีอ่อน เงา และ กลุ่มสีเข้ม เงา
กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา จะมี เหลือง ส้ม ใส โอเปค และ พาสเทล (สีเนื้อ)
กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา จะมี ดำ และ แดง
กลุ่มสีอ่อน เงา จะมี ขาวและ ทอง
กลุ่มสีเข้ม เงา จะมี คอปเปอร์ น้าเงิน เขียว และ เทา
ทีนี้เรามาดูว่าพื้นฐานของสีเดี่ยว ถ้ากรณีเกิดมีสีที่สองขึ้น จะมีข้อเสียอะไรบ้าง
ยกตัวอย่างปลาสีเดี่ยว แดง สีในกลุ่มสีเข้ม ไม่เงา ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบ คือ เม็ด อีรีต เป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่า อีรีต ที่อยู่ในโทนสว่างเงา จะตัดกับสีแดงที่อยู่ในโทนเข้มไม่เงา ทำให้เกิดความแตกต่างละหว่างสีเข้มและสีสว่างเงา มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าสีที่สองเป็นดำ จะมีตำหนิเหมือนกันแต่น้อยกว่าเม็ดอีรีต เพราะอะไร? ถ้าเรากลับไปดูที่ตารางจะเห็นว่าดำอยู่ในกลุ่มเดียวกับแดง นั่นก็คือกลุ่มเข้มไม่เงา เลยไม่ทำให้เกิดข้อแตกต่างมากละหว่างสีแดงและดำ แต่ทั้งนี้สีที่สองถือว่าเป็นตำหนิหมดบนปลาสีเดี่ยว แต่ผมได้ยกตัวอย่างว่าตำหนิไหนร้ายแรงกว่ากัน
ในทางกลับกัน ถ้าเรามีปลาสีเดี่ยวสว่าง อย่างเช่นปลาเหลือง ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบจะกลับกันเลยครับ สีดำจะเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่าเหลืองอยู่ที่โทนสว่าง และ เม็ดอีริดอยู่ที่โทนสว่างเหมือนกัน เลยไม่ทำให้เกิดโทนแตกต่างละหว่างสองสีนี้มาก แต่ถ้าเป็นสีดำที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม จะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันมากครับ
เราเลยจะเห็นหลายๆงานที่กรรมการจะเลือกสี ขาว,ใส หรือสีทอง ขึ้นมาก่อนสีอื่นๆ ในกลุ่มสีเดี่ยว ในกรณีที่เลือกเบสในกลุ่ม เพราะว่าสีเหล่านี้ ถ้าไม่มีสีที่สองเลย จะเป็นปลาที่บริสุทธิ์มากๆ สีตะเกียบจะสีเดียวกันหมด ต่างจากสีอื่นที่อาจจะมีขาวตรงปลายตะเกียบบ้าง
ตอนนี้เรามาดูปลาในกลุ่มลวดลายกัน ในกรณีปลาขอบ สีอะไรจะเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด? คำตอบคือการผสมละหว่างกลุ่มสีอ่อนและกลุ่มสีเข้ม การตัดกันละหว่างสองกลุ่มนี้จะทำให้เกิด ความแตกต่างละหว่างสีที่สูง อย่างเช่นปลาน้าเงินในกลุ่มสีเข้ม แต่คริบตัดด้วยสีขาวซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อน การรวมกันของสองสีนี้จะทำให้เกิดสีที่ตัดกันสูงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า High Contrastแล้วถ้าตัดกันละหว่างกลุ่มสีในหมวดเดียวกันละ? เข้มตัดเข้ม หรืออ่อนตัดอ่อน ยกตัวอย่างเช่นแดงตัดกับดำ จะทำให้เกิดขัอแตกต่างละหว่างสีที่ต่าหรือ Low contrast จะไม่ค่อยมีจุดดึงดูดใสสายตาเท่าไหล่นัก.
อีกลวดลายนึงนั่นคือ กลุ่มสองสี หรือ Bi color ลำตัวสีนึงคริบสีนึง ควรจะมีลำตัวที่ตัดสีที่ดี อย่างเช่นลำตัวในกลุ่มสีอ่อน ตัดกับคริบที่สีเข้ม หรือสลับกันก็ได้ ตัวอย่างที่ดีมากๆคือ มังกรแดง red dragon ที่มีลำตัวสีขาว ในกลุ่มสีสว่าง ตัดกับคริบสีแดงที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม ทำให้เกิด Hi Contrast การตัดของสองสีสุดคั่ว.
แล้วถ้าเป็นแฟนซีทั่วไปละ? ผมจะยกตัวอย่างเช่นปลาโค้ย เคยสังเกตมั้ยว่าโค้ยที่มีสีดำและแดงนั่นสีจะกลืนอยู่มาก แต่ถ้าแค่มีแต้มเหลืองเข้าไปเท่านั้นแหละจะทำให้เด่นขึ้นมาเลย นั่นก็เพราะเหลืองที่อยู่ในกลุ่มสีสว่างได้ไปทำการตัดกับสีแดงกับดำทำให้เด่นขึ้น หรือถ้าเดียวนี้มีการพัฒนาให้มีผสมปลาเครือบเงาแฟนซีเข้ากับปลาโค้ยหนัง จนทำให้เกิดปลาโค้ยที่มีเกล็ดเงาขึ้นตามคริบและลำตัว นั่นทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตาที่สูงมาก เพราะว่าความเงาจะไปตัดกับพื้นหนังของปลาโค้ย อย่างเช่นโค้ยแดงที่มีเกล็ดขาวๆขึ้นตามลำตัว ทำให้เกิดจุดตัดของสีเข้มและอ่อนสูง
ผมขอจบพื้นฐานของสีปลากัดอยู่เท่านี้นะครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดเป็นแค่พื้นฐานขั้นต้นของมาตรฐานIBCเท่านั้น สุดท้ายปลาที่สวยที่สุดก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ
ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Hui Sarawut
บทความแนะนำ
ประมูลปลากัดบนfacebook? เพื่อนๆเคยได้ยินกันไหมครับว่าเราสามารถเข้าไปประมูลปลากัดfacebookได้ สำหรับคนที่ชื่นชอบปลากัดที่มีฉายาว่าปลานักสู้บ้าง อัญมณีใต้น้ำบ้าง สำหรับเหล่าสาวกประกัดแล้วแหล่งซื้อขายปลากัดในปัจจุบันที่สะดวกและง่ายที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการประมูลปลากันบนโลกออนไลน์ ในวันนี้ใต้หวอดจะพาไปดูเพจที่ร้อนแรงในขณะนี้ https://www.facebook.com/groups/170937220422012/ แพจplakadthai group ในตอนนี้มีสมาชิกประมาณ1หมื่นนิดๆ แต่แอดคิดว่าในเวลาอันใกล้น่าจะไปแตะ2หมื่นuserได้ไม่ยาก เพราะกระแสความนิยมในปลากัดนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพจประมูลปลากัดของไทยเรามีอยู่หลายกลุ่มมาก แต่ในวันนี้ขอนำเสนอมาแค่กลุ่มเดี่ยวก่อน ไว้วันหลังadminจะรวมเพจประมูลต่างๆของไทยมานำเสนอกันอีกรอบ ซึ่งตอนนี้คนไหนสนใจอยากจะลองประมูลปลากัดก็สามารถกดเข้าไปที่เพจได้เลยนะครับ ราคาอยู่ในมือเราอย่าไปกลัวครับ ลุย!!! *** เนื่องจากกลุ่มประมูลปลากัดโดนfacebookตามปิดเพราะผิดกฏของfacebook ใต้หวอดจะขอ Update รายชื่อกลุ่มประมูลปลากัดใหม่ กลุ่มประมูลปลากัดไหนต้องการให้ทางใต้หวอดupdateกลุ่มชื่อกลุ่มประมูลปลากัดบนบทความนี้ให้ ติดต่อได้ที่IBของเพจได้ตลอดเวลาเลยนะครับ ทางใต้หวอดยินดีที่จะสนับสนุนวงการปลากัดไทยเสมอ Bangkok auction บทความแนะนำ -ประมูลปลากัดไทยค่าตัว2หมื่นบาท -ปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ กระแสยังแรงต่อเนื่อง -ไลฟ์ประมูลปลากัด
ประวัติปลากัด (Siamese Fighting Fish) ปี พ.ศ. 2383 พระมหากษัตริย์ไทยได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ จากสถาบันเบนเกลเมดิคอล เซอร์วิสของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นวาดภาพ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ ปลากัดไว้ ในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ ได้ตั้งชื่อให้ว่า Macropodus pugnax, Var. แต่พบว่าเกิดความสับสนระหว่างชนิดปลากัดกับปลาชนิดอื่นที่มีการค้นพบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันบ่อย ทำให้มีการตรวจสอบอีกครั้งในปี พ.ศ.2452 โดย ซี. เท็ด เรแกน และได้ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ปลากัดว่า Betta splendens หมายถึง นักรบผู้สง่างาม พบหลักฐานบันทึกถึงการเริ่มนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรป ปี พ.ศ. 2414 โดยมีการเพาะสำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ได้นำเข้าไปในเยอรมันนี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453 ประวัติปลากัดไทย ลักษณะโดยทั่วไป ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก และค่อนชี้ขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีกระดูกอยู่ที่ด้านหน้าช่องตา (preorbital) และมีเกล็ดละเอียดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้งส่วนหัว และตัว ความยาวจากจงอยปากถึงโคนครีบหาง ยาวประมาณ 2.9 – 3.3 เท่า ของความกว้างของลำตัว และ 3.0 – 3.3 เท่าของความยาวหัว หรือมีขนาดได้ไม่เกิน 6 เซนติเมตร ครีบหลังอยู่ค่อนทางด้านหาง ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 – 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 – 9 ก้าน ฐานครีบก้นยาวที่เริ่มจากครีบท้องถึงโคนครีบหาง โดยประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 2 – 4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21 – 24 ก้าน ส่วนครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ทั้งนี้ ปลากัดจะไม่มีเส้นข้างตัว ส่วนสีเกล็ดหรือลำตัวมีหลายสี เช่น แดง คราม เขียว นํ้าเงิน และสีผสมต่างๆ โดยพบว่า สีของเพศผู้จะมีสีสวยงามกว่าเพศเมีย ปลากัดมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจร่วมกับเหงือก เรียกว่า Labyrinth organ ซึ่งจะอยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกอ่อนบาง ๆ เรียงซ้อนทับไปมา และมีรอยหยักคล้ายดอกเห็ดหูหนูขาว บนแผ่นจะประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงจากอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือก จึงเป็นความพิเศษที่ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้ ซึ่งจะเริ่มมีเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน โดยธรรมชาติ ปลากัดจะมีนิสัยก้าวร้าว และหวงถิ่น มีนิสัยชอบกัดต่อสู้กัน ซึ่งพบได้มากในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้ยังมีนิสัยชอบทำร้ายปลากัดเพศเมีย พฤติกรรมนี้จะแสดงออกเมื่อมีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือน ประวัติปลากัดไทย พันธุ์ปลากัด ปลากัดที่พบในธรรมชาติในช่วงแรกๆ จะมีสีเพียงไม่กี่สี คือ สีนํ้าตาลขุ่น และสีเทาแกมเขียว มีลักษณะครีบ และหางสั้น โดยเพศผู้จะมีครีบ และหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย ต่อมาได้มีการเพาะพัฒนาสายพันธุ์จนกระทั่งมีครีบแผ่ใหญ่ และสวยงามมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ในปัจจุบันมีการจำแนกปลากัดออกเป็นหลายชนิด ปลากัดมีกี่ชนิด ? 1. ปลากัดลูกป่า/ปลากัดทุ่ง เป็นปลากัดที่พบได้ตามธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวเล็ก บอบบาง ครีบ และหางสั้น มีสีนํ้าตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว เป็นสีไม่ค่อยสวย และไม่ทนทานในการกัดเท่าปลากัดลูกหม้อ โดยเวลากัดกันจะใช้เวลาน้อยมาก 2. ปลากัดลูกหม้อ/ปลากัดไทย/ปลากัดครีบสั้น เป็นปลากัดพัฒนามาจากการเพาะเลี้ยง และการคัดพันธุ์มาหลายชั่วอายุ เพื่อการกัดต่อสู้โดยเฉพาะ มีรูปร่างลำตัวที่โตกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม มีลักษณะปากใหญ่ ว่ายนํ้าปราดเปรียว สีสันสวยงามหลากสี เช่น สีแดงเข้ม นํ้าเงินเข้ม นํ้าตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีต่างๆ ปลาชนิดนี้กัดได้ทรหดยิ่งกว่าชนิดอื่น ใช้เวลาในการกัดนาน จึงนิยมเลี้ยงมากกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม โดยแบ่งประเภทของปลากัดลูกหม้อตามรูปร่างของร่างกาย ได้แก่ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาช่อน มีลัษณะลำตัวยาว ทรงกระบอก คล้ายปลาช่อน มีหน้าสั้น ช่วงหัวยาวและโคนหางใหญ่ ถือเป็นปลาที่มีลีลาการต่อสู้ที่ดุดัน และมีพละกำลังมาก มีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่งในเวทีต่างๆ – ปลากัดลูกหม้อทรงปลาหม้อ มีลัษณะลำตัวสั้น หนา ลำตัวกว้างหนาเมื่อมองจากทางด้านข้าง และด้านบน ลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาหมอไทย เป็นปลาที่ทรหด และว่องไวในการกัด – ปลากัดลูกหม้อทรงปลากราย มีลัษณะมีหน้างอนขึ้น ลำตัวสั้นแบน เป็นปลาที่คล่องแคล่ว และว่องไวในการกัด และมีประวัติการกัดที่ยอดเยี่ยม 3. ปลากัดลูกผสม ปลากัดลูกผสมมีชื่ออีกอย่างว่า ลูกสังกะสี หรือลูกตะกั่ว เป็นปลาที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกทุ่งกับปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวที่เกิดจากการผสม มีความอดทนในการต่อสู้เหมือนกับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และนำมากัดพนันกันมากไม่แพ้ปลากัดลูกหม้อ 4. ปลากัดจีน/ปลากัดครีบยาว/ปลากัดเขมร เป็นพันธุ์ปลากัดที่ค้นพบโดยนักเพาะพันธุ์ปลากัดหม้อ โดยพบบังเอิญขณะที่พัฒนาปลากัดให้ได้ลักษณะครีบยาว ใหญ่ และให้มีหลากหลายสีที่สวยงาม จนได้ปลากัดที่มีลักษณะหางเป็นพวง คล้ายปลาทอง สีของปลากัดชนิดนี้ ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวม่วง สีนํ้าเงิน ฯลฯ รวมถึงการผสมหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ถือเป็นปลากัดที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในแถบภาคกลาง และภาคตะวันตก เช่น ปทุมธานี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น รูปแบบสีปลากัด 1. สีเดียว (solid color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีเดียวกันทั้งหมดทั้งครีบ และลำตัว โดยไม่มีสีอื่นแต้มหรือปะปน ยกเว้นเขม่าดำที่พบจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบ และขอบเกล็ด ส่วนตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ แต่ปลากัดเผือกที่ลำตัว และครีบท้องจะมีสีอื่นไม่ได้ ส่วนครีบหูนั้น อนุโลมให้เป็นครีบกระจก (ครีบที่มีลักษณะใส) ได้ 2. สองสี (bi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีลำตัวสีเดียว และสีครีบสีเดียว ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีสีแตกต่างกัน ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ 3. หลากสี (multi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ทั้งส่วนของลำตัว และครีบ ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนของตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้ ลักษณะลำตัวปลากัด แบ่งได้ ดังนี้ 1. รูปทรงปลาช่อน จะมีลักษณะลำตัวยาว หัวใหญ่เหมือนปลาช่อน รูปร่างเพรียว 2. รูปทรงปลาหมอ จะมีลักษณะตัวสั้น และค่อนข้างอ้วน 3. รูปทรงปลากราย จะมีลักษณะหน้าเชิด ลำตัวตรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะผอมบาง มีครีบอก และครีบก้นยาว 4. รูปทรงปลาตะเพียน จะมีลักษณะลำตัวป้อม และครีบยาวสวยงาม รูปแบบครีบหาง แบ่งได้ ดังนี้ – หางรูปสามเหลี่ยม (delta tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และแผ่โค้ง ปลายหางกลมมน ก้านครีบตรงถึงปลาย – หางหวีหรือหนามเตย (comb tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และยาว บริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้องมีลักษณะเป็นหนาม – หางมงกุฎ (crown tail) ครีบหางจะยาวมากกว่าแบบหางหวี ก้านครีบที่แผ่ออกจะตั้งตรงตั้งแต่โคนครีบหางถึงปลายครีบหาง และจะพบลักษณะเป็นหนามบริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้อง ก้านครีบหางเป็นทั้งก้านครีบเดี่ยวหรือก้านครีบคู่ – หางคู่ (double tail) ครีบหางจะมีลักษณะสองแฉก การเลี้ยงปลากัด 1. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด การเลี้ยงปลากัดเพื่อเพาะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเลือกลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือนขึ้นไป ด้วยการเลือกคุณสมบัติในเชิงต่อสู้ ซึ่งมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวขณะเลี้ยง แล้วรีบแยกเลี้ยงในภาชนะเพียงตัวเดียว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ก่อนจะเลี้ยงรวมกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์ วิธีสังเกตุเพศปลากัด – ดูสี ปลากัดเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย ลายบนลำตัวเด่นชัดกว่าตัวเมีย ซึ่งจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป – ดูครีบ และกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าตัวเมีย และกระโดงยาวไปจรดหาง ส่วนตัวเมียกระโดงจะสั้นกว่า – ดูท่อนำไข่ หากมีจุดขาวบริเวณใต้ท้องจะเป็นตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดของท่อนำไข่ – ดูปาก ปลากัดที่มีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นตัวผู้ ซึ่งใช้สังเกตได้ตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 20 วัน – ดูขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียในช่วงอายุที่เท่ากัน ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัด ควรเป็นภาชนะขนาดเล็ก และปากไม่เปิดกว้างมาก เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา และป้องกันศัตรูที่อาจจับกินปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ และควรจัดทำเป็นชั้นวางขวดเพื่อประหยัดพื้นที่ และช่วยให้สะดวกในการจัดการ การให้อาหาร พื้นที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากจะมีผลกระทบต่อปลากัดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายได้ง่ายหากอุณหภูมิสูง (อุณหภูมินํ้าไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ) และอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปลาไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเช่นกัน นํ้าที่เลี้ยงต้องปราศจากคลอรีน ควรเป็นน้ำบ่อธรรมชาติหรือน้ำบาดาล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประปา ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 6.5 – 7.5 ความกระด้าง (hardness) 75 – 100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (alkalinity) 150 – 200 มิลลิกรัม/ลิตร
โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy) - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ
ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง 2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์" ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta
ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549 ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549 ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS *** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ