การเลี้ยงปลาหน้าหนาว

betta
การเลี้ยงปลาหน้าหนาว
Nov 26, 2019
by

เริ่มเข้าหน้าหนาวแล้ว เราจะดูแลปลากัดที่เรารักกันอย่างไร ทางใต้หวอดจะมานำเสนอแนวทางที่จะดูแลปลากัดในหน้าหนาวกันครับ 

- ย้ายปลามาเลี้ยงในสถานที่ปิด เช่น ในบ้าน ในห้อง 

- ใช้ ฮีตเตอร์ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลา

- ลดอาหาร เพราะหน้าหนาวปลาจะเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยลง ถ้าให้อาหารเยอะปลาจะกินไม่หมดน้ำจะเน่า ทำให้ปลาป่วยเป็นโรคและตายได้

- เอาปลาตากแดดช่วงเข้าประมาณ15นาที

-เปลี่ยนน้ำบ่อยขึ้น

เพียงแค่นี้ปลากัดที่เรารักก็จะรอดหน้าหนาวไปได้แบบชิวๆ 

 

Tag
ปลากัด

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Aug 22, 2019

กระแสปลากัดปีนี้ต้องยอมให้ ปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ จริงๆ แรงตั้งแต่ต้นปี (ประมูลปลากัด ค่าตัว2หมื่นบาท)จนตอนนี้ไตรมาสที่3ของปีก็ยังแรงต่อเนื่อง ใต้หวอดเคยนำเสนอการประมูลปลากัดโค่ยกาแล็คซี่ ตอนต้นปีไปแล้วที่ปิดไป20,100บาท ตอนนี้มีสถิติใหม่ของปีนี้และของปลากัดโค่ยกาแล็คซี่แล้วครับพี่น้องชาวปลากัด  โดยปิดไปที่25,530บาท ปลากัดไทยไม่ธรรมดาจริงๆ เป็นที่ฮือฮาในแวดวงปลากัดทั้งไทยและต่างประเทศอย่างมาก แต่สถิติปลากัดที่แพงที่สุดในโลกก็ยังเป็นของเจ้าไตรรงค์ หรือ ปลากัดลายธงชาติ ยังไม่มีใครทำลายตัวเลขนี้ลงไปได้นะจ๊ะ   ปลากัด ท้องบวม   ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม ขอบคุณเจ้าของภาพและปลา คุณ วรเวทย์ ตันวิสุทธิ์

betta Aug 6, 2019

ปลากัดป่า หรือ ปลากัดพื้นเมือง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเอกลักษณ์​ทางวัฒนธรรม​ ที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์ให้อยู่กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย ประเทศไทยอยู่โซนเขตร้อนทำให้อุณห๓ูมิของน้ำเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลากัดอย่างมาก รวมทั้งยังอุดมไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างมากมาย ปลากัดป่า แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1.ปลากัดป่าภาคกลางและภาคเหนือ(แก้มแดง) พบเห็นได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษ พบประปลายที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และอาจจะพบเห็นในจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย (เป็นต้นสายของปลากัดแฟนซี และ ปลากัดหม้อ) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) แหล่งอาศัย ปลากัดป่าภาคกลาง(แก้มแดง) ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคกลาง  -ส่วนหัว จะเป็นสีเทาถึงสีดำ -แก้ม ใบหน้าแก้มจะมีขีดสีแดง หรือสีส้ม หรือสีเงิน 1-2ขีด -เกล็ด สีของเกล็ดส่วนบนลำตัวจะมีสีเขียวเงา หรือฟ้าเงา หรือเกล็ดไม่มีสีก็ได้ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นมีสีเขียวหรือฟ้า และมีลายอาจจะเป็นสีแดงหรือไม่มีก็ได้ -ครีบก้นหรือชายน้ำ มีเส้นก้านเดี่ยวไม่แตกสอง สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมปลายครีบ ส่วนปลายชายน้ำ(ชายธง) ควรมีสีแดงตลอดเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ มีก้านครีบเดี่ยวไม่แตกสอง ก้านหน้ามีสีดำ ตะเกียบมีสีแดง ปลายก้านสีขาว -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น พื้นและก้านมีสีแดง ขแบหางมีสีดำ ระหว่างก้านครับมีเส้นสีเขียวหรือสีฟ้าแซม ลากจากโคนหางไม่ถึงปลายหาง   2.ปลากัดป่าภาคอีสาน(ปลากัดหน้างู) พบเห็นได้ง่ายในทางภาคอีสานของประเทศไทย แลพประเทศเพื้อนบ้าน ลาว กัมพูชา เป็นต้น ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคอีสาน -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ สีของเกล็ดมีสีเขียววาวขึ้นปิดบริเวณแผ่นเหงือก(แก้ม) -เกล็ด เรียงแน่นเป็นระเบียบตลอดลำตัว มีโทนสีเขียว -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีมมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีมมีพื้นสีฟ้าเหลือเขียว มีลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ สีพื้นเป็นโทนสีแดงมีแถบสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซมจากโคนถึงปลายครีบ -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีมคู่ต้องยาวเรียว โทนสีแดง ก้านครีบเส้นแรกเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลแดง หรือสีขาวสะท้อนฟ้า ปลายตะเกียบมีสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง ก้านครีบแตกสองเท่านั้น และก้านเป็นสีแดง มีแถบสีเขียวขึ้นแซมระหว่างก้านครีบ ลากจากโคนไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น 3.ปลากัดป่าภาคใต้ พบเห็นได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรสุราษฎร์ธานี จนไปถึง3 จังหวัดภาคใต้ และ ประเทศมาเลเซีย เวียดนาม (มีขนาดเล็กที่สุดในทุกสายพันธุ์) ฉายาในวงการปลา ปากไว ใจน้อย ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคใต้ -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้า2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบเต็มแก้ม -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัว หรือขึ้นประปรายก็ได้ แล้วแต่ลักษณะเฉพาะแหล่งนั้นๆ -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว พื้นมีสีเขียว หรือฟ้า มีลายสีดำ ก้านครีมโทนน้ำตาลแดงถึงดำ อาจพบปลายกระโดงมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีมเป็นสีแดง ระหว่างทุกก้านมีสีเขียวหรือฟ้าขึ้นแซม จุดเด่นสำคัญคือ ปลายชายน้ำของครีมก้น(ชายธง) ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำ หรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ ครีบเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านครีบเส้นแรกมีสีดำพื้นตะเกียบมีสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นหาง และก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านครีบมีเส้นสีเขียวหรือฟ้าแซมลากจากโคนไปสุดปลายหางถือเป็นจุดเด่น ปลายหางมีสีแดงรูปทรงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว หรือเรียกกันว่า"วงพระจันทร์" 4.ปลากัดป่ามหาชัย ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ที่จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ ปริมณฑล แถบสมุทรปราการรอยต่อหัวกระบือ และ บ้านแพ้ว ก็มีทั้งแก้มแดงและมหาชัย (ที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที) ลักษณะเด่นของปลากัดป่ามหาชัย -ส่วนหัว สันหัวเป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีขีดสีเขียวโทนฟ้าแวววาว2ขีด ซึ่งบางตัวอาจมีสีเขียวเคลือบแก้มไปถึงคาง -เหงือก เวลากระพุ้งแก้มเปิดออก จะมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ ซึ่งในสายพันธุ์อื่นจะมีสีแดงสดถึงแดงเข้ม -เกล็ด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลแดงไปถึงดำ สีของเกล็ดมีสีเขียวถึงฟ้าแวววาวเรียงเป็นระเบียบ เป็นแนวคล้ายแถวเมล็ดข้าวโพดบนฝัก -ครีบหลังหรือกระโดง ก้านแตก1-2 (ถ้าแตก1เป็นจุดเด่น) มีสำน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวหรือฟ้า ลายสีดำ -ครีบก้นหรือชายน้ำ ก้านครีบเดี่ยว พื้นเนื้อและก้านครีบมีสีน้ำตาลแดงถึงดำ มีแถบสีเขียวหรือฟ้าแซมจากโคนถึงปลายระหว่างก้านครีบของแต่ละเส้น -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีน้ำตาลแดงถึงดำ ด้านเส้นแรกมีสีเขียวถึงฟ้า ปลายตะเกียบสีขาวและไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด หรือทรงใบโพธิ์ ก้านครีบมีทั้งแตก2-4(แตก2เป็นจุดเด่น) มีสีน้ำตาลแดงถึงดำมีแถบสีเขียว หรือฟ้าแซมระหว่างก้านครีบลากจากโคนก้านไปสุดปลายก้านหางแต่ละเส้น และในระหว่างปลายก้านครีบหางที่แตก2จะมีสีเขียวถึงฟ้าแซมทุกช่อง 5.ปลากัดป่าภาคตะวันออก พบเห็นได้ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในตะวันออกจะมีทั้งแก้มดำและแก้มแดง ปลากัดป่าภาคตะวันออก ลักษณะเด่นของปลากัดป่าภาคตะวันออก -ส่วนหัว ป็นเขม่าดำ ที่แก้มมีจุดหรือขีดสีแดง 1-2ขีด หรือไม่มีก็ได้ -เกล็ด มีสีเขียวถึงฟ้าเข้ม ขึ้นเรียงเต็มตัวหรือประปราย แต่ถ้าเกล็ดขึ้นเรียงเต็มตัวถือเป็นจุดเด่น -ครีบหลังหรือกระโดง มีก้านครีบเดี่ยว ก้านครีบมีโทนสีน้ำตาลถึงดำ เยื่อครีบมีพื้นสีเขียวถึงฟ้า ลายสีดำหรืออาจพบปลายครีบมีสีแดง -ครีบก้นหรือชายน้ำ พื้นเนื้อและก้านครีบเป็นสีแดง ระหว่างก้านมีสีเขียวหรือฟ้า จุดเด่นที่สำคัญคือปลายชายน้ำ ต้องมีสีแดงคล้ายหยดน้ำหรือรูปปลายหอก -ครีบท้องหรือตะเกียบ เป็นครีบคู่ พื้นสีแดง ปลายตะเกียบสีขาว และไม่แตก -ครีบหาง รูปทรงของครีบเป็นทรงพัด สีพื้นและก้านครีบเป็นสีแดงเข้มปลายก้านครีบแตก2เท่านั้น ระหว่างก้านมีสีเขียวถึงฟ้าขึ้นแซม ปลายหางมีสีแดง รูปทรงคล้ายวงพระจันทร์เสี้ยว หรือมักเรียกว่า "วงพระจันทร์"  ขอบคุณรูปภาพจาก 100% ปลากัดป่า - Wild Betta  

betta Feb 13, 2019

 ก่อนที่งานประกวดของ Thailand Betta Club จะมาถึง เรามาลองดูพื้นฐานของสีปลากัดกันครับ  นี่เป็นตารางสีที่ผมเคยได้รับสอนตั่งแต่ผมเข้ามาเลี้ยงปลากัดใหม่เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว โดยมาตรฐานของIBCจะแบ่งสีพื้นฐานเป็น4กลุ่ม นั่นก็คือ กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา, กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา, กลุ่มสีอ่อน เงา และ กลุ่มสีเข้ม เงา กลุ่มสีอ่อน ไม่เงา จะมี เหลือง ส้ม ใส โอเปค และ พาสเทล (สีเนื้อ) กลุ่มสีเข้ม ไม่เงา จะมี ดำ และ แดง กลุ่มสีอ่อน เงา จะมี ขาวและ ทอง กลุ่มสีเข้ม เงา จะมี คอปเปอร์ น้าเงิน เขียว และ เทา ทีนี้เรามาดูว่าพื้นฐานของสีเดี่ยว ถ้ากรณีเกิดมีสีที่สองขึ้น จะมีข้อเสียอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างปลาสีเดี่ยว แดง สีในกลุ่มสีเข้ม ไม่เงา ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบ คือ เม็ด อีรีต เป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่า อีรีต ที่อยู่ในโทนสว่างเงา จะตัดกับสีแดงที่อยู่ในโทนเข้มไม่เงา ทำให้เกิดความแตกต่างละหว่างสีเข้มและสีสว่างเงา มองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าสีที่สองเป็นดำ จะมีตำหนิเหมือนกันแต่น้อยกว่าเม็ดอีรีต เพราะอะไร? ถ้าเรากลับไปดูที่ตารางจะเห็นว่าดำอยู่ในกลุ่มเดียวกับแดง นั่นก็คือกลุ่มเข้มไม่เงา เลยไม่ทำให้เกิดข้อแตกต่างมากละหว่างสีแดงและดำ แต่ทั้งนี้สีที่สองถือว่าเป็นตำหนิหมดบนปลาสีเดี่ยว แต่ผมได้ยกตัวอย่างว่าตำหนิไหนร้ายแรงกว่ากัน ในทางกลับกัน ถ้าเรามีปลาสีเดี่ยวสว่าง อย่างเช่นปลาเหลือง ถ้ามีสีที่สองขึ้น ละหว่าง เม็ด อีริด (iridescent) ที่เป็นเม็ดสีขาวเงาๆตามตัวและครีบ หรือ สีดำ คำถามคือ สีที่สองไหนเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่ากัน? คำตอบจะกลับกันเลยครับ สีดำจะเป็นตำหนิที่ร้ายแรงกว่า เพราะว่าเหลืองอยู่ที่โทนสว่าง และ เม็ดอีริดอยู่ที่โทนสว่างเหมือนกัน เลยไม่ทำให้เกิดโทนแตกต่างละหว่างสองสีนี้มาก แต่ถ้าเป็นสีดำที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม จะทำให้เกิดข้อแตกต่างกันมากครับ เราเลยจะเห็นหลายๆงานที่กรรมการจะเลือกสี ขาว,ใส หรือสีทอง ขึ้นมาก่อนสีอื่นๆ ในกลุ่มสีเดี่ยว ในกรณีที่เลือกเบสในกลุ่ม เพราะว่าสีเหล่านี้ ถ้าไม่มีสีที่สองเลย จะเป็นปลาที่บริสุทธิ์มากๆ สีตะเกียบจะสีเดียวกันหมด ต่างจากสีอื่นที่อาจจะมีขาวตรงปลายตะเกียบบ้าง  ตอนนี้เรามาดูปลาในกลุ่มลวดลายกัน ในกรณีปลาขอบ สีอะไรจะเป็นจุดดึงดูดสายตาที่สุด? คำตอบคือการผสมละหว่างกลุ่มสีอ่อนและกลุ่มสีเข้ม การตัดกันละหว่างสองกลุ่มนี้จะทำให้เกิด ความแตกต่างละหว่างสีที่สูง อย่างเช่นปลาน้าเงินในกลุ่มสีเข้ม แต่คริบตัดด้วยสีขาวซึ่งอยู่ในกลุ่มสีอ่อน การรวมกันของสองสีนี้จะทำให้เกิดสีที่ตัดกันสูงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า High Contrastแล้วถ้าตัดกันละหว่างกลุ่มสีในหมวดเดียวกันละ? เข้มตัดเข้ม หรืออ่อนตัดอ่อน ยกตัวอย่างเช่นแดงตัดกับดำ จะทำให้เกิดขัอแตกต่างละหว่างสีที่ต่าหรือ Low contrast จะไม่ค่อยมีจุดดึงดูดใสสายตาเท่าไหล่นัก. อีกลวดลายนึงนั่นคือ กลุ่มสองสี หรือ Bi color ลำตัวสีนึงคริบสีนึง ควรจะมีลำตัวที่ตัดสีที่ดี อย่างเช่นลำตัวในกลุ่มสีอ่อน ตัดกับคริบที่สีเข้ม หรือสลับกันก็ได้ ตัวอย่างที่ดีมากๆคือ มังกรแดง red dragon ที่มีลำตัวสีขาว ในกลุ่มสีสว่าง ตัดกับคริบสีแดงที่อยู่ในกลุ่มสีเข้ม ทำให้เกิด Hi Contrast การตัดของสองสีสุดคั่ว. แล้วถ้าเป็นแฟนซีทั่วไปละ? ผมจะยกตัวอย่างเช่นปลาโค้ย เคยสังเกตมั้ยว่าโค้ยที่มีสีดำและแดงนั่นสีจะกลืนอยู่มาก แต่ถ้าแค่มีแต้มเหลืองเข้าไปเท่านั้นแหละจะทำให้เด่นขึ้นมาเลย นั่นก็เพราะเหลืองที่อยู่ในกลุ่มสีสว่างได้ไปทำการตัดกับสีแดงกับดำทำให้เด่นขึ้น หรือถ้าเดียวนี้มีการพัฒนาให้มีผสมปลาเครือบเงาแฟนซีเข้ากับปลาโค้ยหนัง จนทำให้เกิดปลาโค้ยที่มีเกล็ดเงาขึ้นตามคริบและลำตัว นั่นทำให้เกิดจุดดึงดูดสายตาที่สูงมาก เพราะว่าความเงาจะไปตัดกับพื้นหนังของปลาโค้ย อย่างเช่นโค้ยแดงที่มีเกล็ดขาวๆขึ้นตามลำตัว ทำให้เกิดจุดตัดของสีเข้มและอ่อนสูง ผมขอจบพื้นฐานของสีปลากัดอยู่เท่านี้นะครับ ที่ผมเขียนมาทั้งหมดเป็นแค่พื้นฐานขั้นต้นของมาตรฐานIBCเท่านั้น สุดท้ายปลาที่สวยที่สุดก็ขึ้นอยู่ที่มุมมองของแต่ละคนครับ ขอบคุณเจ้าของบทความ คุณ Hui Sarawut

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta May 30, 2019

ต้นหูกวาง ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond) มีชื่อตามท้องถิ่นที่เรียกกันตามจังหวัด เช่น โคน ตาแป่ห์  (นราธิวาส) ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง) ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล) หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ จัดอยู่ในวงศ์ Combretaceae ชนิดที่พบในประเทศไทยคือ Terminalia catappa Linn.   ใบหูกวาง ใบหูกวางในการรักษาโรคในปลากัดนั้น ได้รับการศึกษาค้นคว้าโดย วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นนทวิทย์ อารีย์ชน ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปโดยรวมว่า ในใบหูกวางนั้นมีสารสำคัญตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Tannin ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนใหญ่พบในส่วนที่เป็นใบ ฝัก และส่วนที่ปูดออกมาผิดจากปกติ เมื่อต้นไม้ได้รับอันตราย มีรสฝาด สามารถละลายน้ำได้ดี มีคุณสมบัติทำให้เกิดความระคายเคือง หรือบางชนิดทำให้เกิดฤทธิ์สมาน อีกทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้   การใช้ใบหูกวางในการรักษาโรคปลากัดนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าโดยวิธีการใช้สารสกัดจากใบหูกวาง โดยการนำใบหูกวางสดมาอบที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส ประมาณ 6 ชม. จากนั้นหมักใบหูกวางกับตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ เอทิลแอลกอฮอล์ 70% และ เอทิลแอลกอฮอล์ 95% หมักไว้ในภาชนะปิดทิ้งไว้ 3 วัน ในอัตราส่วนใบหูกวาง 1 ส่วนต่อตัวทำละลาย 10 ส่วน เมื่อครบกำหนดบีบเอาสารละลายออกจากกาก แล้วนำสารสกัดที่ได้ระเหยเอาตัวทำละลายออก จนสารสกัดแห้งเป็นผง  แล้วนำมาแช่ในน้ำปกติ 375 ส่วนในล้านส่วน หรือ 3.75 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 24 ชม.   เพียงเท่านี้ เจ้าปลากัดนักสู้ที่มีสีสันสวยงาม ก็พร้อมที่จะออกต่อสู้ในสังเวียนอีกครั้ง