ประวัติ ปลากัดนิลมังกร

betta
ประวัติ ปลากัดนิลมังกร
Apr 26, 2021
by

ปลากัดนิลมังกรคืออะไร สายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นปลาอะไรกัน วันนี้จะมาเลาให้ฟังว่าปลากัดนิลมักรคืออะไร

ปลากัดนิลมังกร เป็นปลากัดที่เกล็ดเป็นสีคอปเปอร์ และหนังเป็นสีดำ อ้าว......อย่างนี้ก็คือปลาพวกตรกูลซามูไรนะสิ 

ปลากัด black light
ปลากัด ท้องบวม
ปลากัดนิลมังกร
ปลากัด ท้องบวม

แต่.... ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่เลย ปลากัดนิลมังกรคือปลาที่หลุดมาจาก ปลากัด สาย black light ของ อ.น้อย จาก ฟาร์ม Phon betta thailand ขอเน้นเลย นิลมังกรของแท้100%ต้องมาจากปลาหลุดมาจาก black lightสาย อ.น้อย เท่านั้น มีหลายๆคนยังเข้าใจผิดกันว่า นิลมังกร คือปลาตระกูล black samurai 

 

 

ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก อ.น้อย Phon Betta Thailand

 

Tag
ปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?

betta Sep 9, 2018

กรมประมงเสนอ “ปลากัด” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุมีประวัติยาวนานกว่า 667 ปี สามารถสร้างอาชีพหลัก สร้างรายได้เสริม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท   เมื่อวันที่ 11 ต.ค. น.ส.อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมประมง และนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง แถลงข่าว การนำเสนอ ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้มีการนำเสนอเรื่องนี้ เข้าที่ประชุม ครม. เพื่อให้ ครม.พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการ ครม.เห็นควรให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาก่อน ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ เห็นควรให้มีการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) เพื่อประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงจึงได้รับเรื่องดังกล่าวมาทบทวนตามข้อเสนอแนะ น.ส.อมรรัตน์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ปลากัดถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ สามารถเลี้ยงได้ในทั่วทุกภูมิภาค แต่ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐานต่างๆ ทั้งประวัติศาสตร์ของปลาที่มีในประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 667 ปี จนถึงปัจจุบัน และมีการสืบสานการเลี้ยงปลากัดในแทบทุกจังหวัด ทั้งการเลี้ยงเพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ การเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และขยายสู่เชิงพาณิชย์ สามารถสร้างอาชีพหลักและสร้างรายได้เสริม ตลอดจนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน นำรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับสายพันธุ์ปลากัดของไทยที่ จะเสนอเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือสายพันธุ์เบตตาสเปลนเดนส์ (Betta Splendens) ซึ่งหลังจากการที่รวบรวม และศึกษาข้อมูลของปลากัดไทย มั่นใจว่าการเสนอเรื่องนี้เข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งจะผ่านการพิจารณา ทั้งนี้ คาดว่าภายในสิ้นเดือน ต.ค. จะสามารถเสนอเรื่องและหลักฐานต่างให้กรรมการพิจารณาได้ ส่วนผลการพิจารณาไม่สามารถระบุได้ว่าจะผ่านการพิจารณา หรือไม่ และเมื่อไหร่ แต่ก็ทำเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ปลากัดไทย เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ

betta Jun 16, 2019

ปลากัดสีทองเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างคอปเปอร์หรือสีทองแดงเข้ากับแพตตินั่ม ครั้งแรกลูกปลากัดที่เกิดมานั้น  จะออกมาเป็นสีทองอ่อน โดยเริ่มเพาะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งสำเร็จ ได้ปลากัดสีทองที่สมบูรณ์ในปี 2549 ขอย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2547 เป็นได้แค่มุขทองหรือแพลตินั่มโกลหรือทองอ่อน ผมได้ใช้เวลาไล่สายพันธุ์มาประมาณ 2-3ปี   จึงได้มาเป็นปลากัดสีทองตัวแรกของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะปลากัดส่วนใหญ่เกิดที่ประเทศไทยจึงกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำ   ซึ่งผมได้ใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากที่ต้องการจะเพาะพันธุ์ปลากัดสีทองให้สำเร็จ โดยผมมีแนวความคิดว่า ในเมื่อปลากัดที่มีสีทองแดง สีมุขทอง และแพตตินั่ม ยังสามารถเพาะขึ้นมาได้ ฉะนั้นก็ต้องทำให้เป็นสีทองได้เช่นกัน ซึ่งในความคิดผมนั้นผมคิดว่าการเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีสีสันต่างๆตามที่ต้องการนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องมีใจรัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง สำหรับผมการทำปลากัดสีทองครั้งแรกเหนื่อยมากครับ เพราะการที่ต้องการจะทำให้ปลากัดออกมาเป็นสีทอง มีความเงางามเหมือนดั่งทองนั้น ต้องใช้ความพยามยามอย่างที่สุด เนื่องจากในครั้งแรกลูกปลากัดที่ได้มาไม่เป็นตามที่คิดไว้ บ้างก็มีเขม่าที่ลำตัวบ้าง ก็มีเขม่าที่ครีบ ต้องพยายามหาตัวที่ไม่มีเขม่าหรือมีเขม่าน้อยที่สุดและมีสีทองเข้มมาผสมหลายชั้นหลาย F จนได้สายเลือดที่นิ่ง และเพาะสำเร็จในปี 2549 ในปี 2550 ปลากัดสีทองได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์คอลัมน์ สัตว์สวยป่างาม ในปี 2551 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “เปิดหูเปิดตา” ทางช่อง TPBS ในปี 2552 ปลากัดสีทองได้ออกสู่สายตาชาวโลก ในงาน อะควอรามา ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยคณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้นำปลากัดสีทองไปแสดงและจำหน่ายในงานนั้นด้วย ในปี 2553 ปลากัดสีทองได้ออกรายการทีวี “ลุงหลานบานเย็น” ทางช่อง TBPS   *** หมายเหตุ มุขทองเป็นปลากัดที่ลำตัวมีสีขาวมุข ส่วนครีบหางจะมีสีทองหรือสีเหลืองไม่เหมือนสีทองอ่อน สำหรับสีทองอ่อนจะมีสีทองอ่อนๆไม่เข้มเหมือนสีทองน่ะครับ แอดหมีต้องขอยกย่องลุงอ๋าผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของปลากัดทองด้วยครับ คาราวะลุงด้วยหัวใจ

betta Jan 26, 2023

ก่อนอื่นเรามาปูพื้นฐานสีของปลากัดกันก่อน สีของปลากัดมี2ประเภท คือ สีหนังกับสีเกล็ด สีเนื้อ มีสี ดำ แดง ส้ม เหลือง ใส สีเกล็ด แบ่งเป็น 2ประเภท สีด้านกับสีเงา สีด้าน เขียวด้าน สติลบลู ขาวโอเปค ขาวอมชมพู สีเงา เขียวเมทัลลิก คอปเปอร์ ขาวแพตทินัม และ โกลด์ ความแตกต่างของสีปลา2ประเภทก็ให้นึกถึงแตงโม แตงโมจะมีเปลือกเป็นสีเขียว ก็คือสีเกล็ด และสีข้างในแตงโมมีสีแดงก็คือสีเนื้อของปลานั้นเอง black start เป็นปลากัดสายพันธุ์โค่ย ทีลักษณะสีเนื้อจะเป็นสีดำและมีมุกขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือเขียวตามลำตัวเป็นดอกๆ เราต้องไปเลือกปลาในคอกของโค่ย เอามา1คู่ที่ไม่ลอก ก็คือปลาที่เกล็ดเป็นสีเขียวหรือน้ำเงินนั้นเอง และสีเนื้อปลาต้องเป็นสีดำ เนื้อดำจะรู้ได้ยังไงในเมื่อปลาสีไม่ลอก สังเกตุได้4วิธี 1.สังเกตุตรงเหงือกปลา ถ้าปลาสีของเหงือกเป็นสีอะไร สีเนื้อปลาก็จะเป็นสีนั้น 2.สังเกตุตรงรอยแยกของเกล็ดปลา 3.สังเกตุตรงปากของปลา 4.สังกตุตรงใต้ท้องปลา และต้องเป็นคอกเดียวกันเท่านั้น สำคัญมาก เพราะถ้าเอาข้ามสายหรือข้ามคอกมา ปลาFต่อไปก็จะไม่ลอกให้ -พอเราเลือก พ่อพันธุ์กับแม่พันธ์ุได้แล้ว ก็เอามาเข้ากัน ลูกที่ได้ในF1ต่อไปก็จะได้ปลาที่มีจำนวนการลอกประมาณ10%  -หลังจากเราได้รุ่นลูกจากF1มาแล้ว ให้เลือกตัวที่ลอกจากเขียวหรือน้ำเงินมาเป็นดำ ในคอกเดียวกันมา1คู่เพื่อมาเข้ากันอีกก็จะได้F2 ในF2ปลาก็จะมีเลือดที่ชิดมากขึ้นก็จะลอกสีเกล็ดออกเป็นมุกมากขึ้น เปอเซ็นการลอกก็จะเพิ่มขึ้นจากF1 เพราะเลือดมีความชิดกันมากกว่าเดิมแล้ว -นำลูกปลาที่ได้จาก F2 เข้ากันอีกที ก็จะได้F3ที่ได้ black start ที่ได้จำนวนลอกดี -ถ้าเลือดเริ่มชิดให้ใช้วิธีการถ่างเลือด โดยการนำปลาblack startคอกที่มีจำนวนมากไปเข้ากลับปลาต่างสายเลือดลักษณะทรงที่สวยและเป็นเนื้อสีดำก็ได้มาเลย -พอได้ลูกที่เกิดจากเลือดถ่าง ให้นำตัวเมียในคอกไปเข้ากับblack startในคอกที่นิ่งและมีจำนวนมาก เลือดจะเกิดการช็อตกันและวิ่งกลับไปเป็นblack startตามเดิม Black Star Black Star Black Star ขอบคุณรูปภาพสวยๆและความรู้ดีๆจาก อ.น้อย Phon Betta Thailand