การเพาะพันธุ์ปลากัด

betta
การเพาะพันธุ์ปลากัด
Apr 5, 2023
by

วิธีเพาะพันธุ์ปลากัด หลายคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลากัด แรกๆก็เลี้ยงเพราะมันสวยงาม ไปๆมาๆเริ่มก็ความอยากลองเพาะพันธุ์ปลากัด และปัญหาหลักของผู้เริ่มต้นเลยคือจะเพาะปลากัดยังไงดีไม่มีความรู้หรือประสบการณ์เลย เอาละครับวันนี้ เว็บใต้หวอดจะแนะนำคุณเอง ว่า วิธีผสมพันธุ์ปลากัด ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ

สิ่งที่ต้องเตรียมในการเพาะปลากัด
- พ่อปลากับแม่ปลาที่พร้อมสมบูรณ์ 
พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อายุควรจะประมาณ3.5เดือนหรือมากกว่านั้นกำลังดี ไม่เด็กไปไม่แก่ไป โครงสร้างของปลาดี ไม่พิการ

-ภาชนะเพาะปลากัด
ถังหรือขันน้ำหรือภาชนะอะไรก็ได้

-ใบตอง หรือ ใบหูกวาง
ใบตองหรือใบหูหวางแห้งๆแบบนี้และครับมันจะช่วยทำให้เกิดพารามีเซียมตามธรรมชาติเอง และยังมีสารเทนนินที่ช่วยชะลอการเน่าเสียของน้ำด้วย (ใบหูกวางคืออะไร)

ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ปลากัด

1.เลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลากัดที่สมบูรณ์


2.เทียบปลาหรือพาลปลา (2รอบ เช้า เย็น รอบละ15นาที) 7-10วัน


3.ใส่ปลาลงเพาะในภาชนะที่ไม่ต้องกว้างมากเช่นถังสี20ลิตร เพื่อที่พ่อปลาจะดูแลลูกปลาได้ทั่วถึงและปิดปากภาชนะประมาณ70%


4.วันรุ่งขึ้นช่วงดึกประมาณ 3-4ทุ่ม   ไปเปิดเช็คว่าได้ไข่ยัง  ใช้ไฟฉายส่องดู ที่ต้องส่องตอนกลางคืนเพราะปลากัดเป็นปลาหากินกลางวัน 
ตอนกลางคืนก็ปลาก็จะนอนแล้ว ปลาจะได้ไม่ตกใจกินไข่ตัวเอง ถ้ายังไม่ได้ก็ปล่อยต่อไปอีก1-2วัน และถ้าปล่อยต่ออีกแล้วยังไม่ได้ไข่อีก ก็เอาออกมาเทียบหรือพาลใหม่ครับไม่ก็เปลี่ยนตัวเมียใหม่


5.หลังจากได้ไข่นับต่อไปอีก3-4วัน ให้เริ่มสังเกตุการว่ายน้ำของลูกปลา ถ้าว่ายน้ำลำตัวขนาดกับน้ำถือว่าแข็งแรงและพร้อมแล้ว แต่ถ้ายังว่ายน้ำแนวนิ่งแสดงว่ายังไม่พร้อมครับ เทปลาลงบ่อปากบ่อกว้างประมาณ75cm-150cmโดยประมาณ และให้เริ่มให้อาหารลูกปลากับพ่อปลามือแรกพร้อมกันหลังจากเทปลาแล้ว 
แนะนำอาหารมือแรกในการอนุบาลควรเป็นไรแดงไม่ก็อาร์ทีเมียจะดีกับลูกปลามากที่สุดครับ หลังจากให้อาหารแล้ววันถัดๆไปพยายามส่องดูอาหารในบ่อปลาว่าหมดยัง ถ้าหมดก็ให้เติมไปครับ 7วันเราก็จะเห็นขนาดของลูกปลามีการเปลี่ยนแปลง

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด

 

fish-bite
ผสมพันธุ์ ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ไข่ปลากัด
fish-bite
ลูกปลากัดแรกเกิด ขอบคุณภาพจากthai giant betta

การเพาะพันธุ์ปลากัดก็มีเพียงเท่านี้ ง่ายๆไม่ได้ยากอะไรขอแค่มีความอดทนพอครับเพราะแรกๆอาจจะได้ลูกปลาน้อยหรือไม่ได้เลยอย่าพึ่งท้อนะครับ การเพาะปลากัดจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องใจเย็นด้วยครับ  วิธีผสมพันธุ์ปลากัดที่ใต้หวอดนำเสนอมานี้มันไม่ได้มีอะไรตายตัวนะครับ ผู้อ่านอาจจะนำเอาไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเอาเองได้เลย 

Tag
Siamese Fighting Fishเพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดbetta

NEXT UP

บทความแนะนำ

betta Apr 5, 2023

เพาพะปลากัดหน้าร้อน ยังไงให้ได้ลูกเยอะ ทำยังไง?

betta Sep 9, 2018

พาณิชย์ ยกระดับคุ้มครอง ‘ปลากัดไทย’ ทั้งในและต่างประเทศ รับลูกมติ ครม. ประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2562 เห็นชอบให้ปลากัดไทย ซึ่งมีชื่อสามัญว่า “Siamese Fighting Fish” เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เช่น การจัดทำฐานข้อมูลทางชีวภาพของสายพันธุ์ปลากัดไทย เพื่อใช้ในการอ้างอิงสายพันธุ์ปลากัดไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นเรื่องที่น่ายินดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ กระทรวงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญและจำเป็น ในการคุ้มครองปลากัดไทย ในฐานะที่เป็นทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources) ของไทย ทั้งในระดับประเทศและระดับดับสากล น.ส.ชุติมา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่..) พ.ศ. … ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2562 โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่มีการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและการแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมนั้น ในคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อป้องกันปัญหาการขโมยทรัพยากรพันธุกรรม ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ชอบ หรือที่เรียกว่า ปัญหาโจรสลัดชีวภาพ (Bio-Piracy) นอกจากนี้ ไทยยังเดินหน้าเจรจา เร่งรัด และผลักดันให้มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองทรัพยากรทางพันธุกรรมภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) โดยหากการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังกล่าวเป็นผลสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศและ ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมเป็นอย่างมาก

betta Aug 16, 2019

โรคท้องมาน หรือ ท้องบวม ในปลากัด (Ascites) คือโรคที่มีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง เกิดจากความบกพร่องของระบบการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ และระบบไหลเวียนเลือด ประกอบด้วยเหงือก ตับ ไต และหัวใจ #สาเหตุ เกิดจากโรคติดเชื้อหรือโรคพยาธิ โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคเนื้องอก โรคถุงน้ำ โรคทางพันธุกรรม โรคความเสื่อม เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่กล่าวไป ปลากัด ท้องบวม ปลากัด ท้องบวม #อาการ - โรคติดเชื้อหรือพยาธิ หากมีการติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia)จะพบอาการท้องมานร่วมกับเกล็ดพองและตาโปน(Dropsy)  - โรคไม่ติดเชื้อ จะพบอาการท้องมาน โดยที่ปลาส่วนมากยังคงร่าเริง กินอาหารและขับถ่ายปกติ #การจัดการ (ท้องมานจากโรคไม่ติดเชื้อ) - รักษาความสะอาดของน้ำเลี้ยง - ให้เกลือที่ 0.5 ppt หรือ 0.5 g/ น้ำ 1 L เพื่อลดความเครียด  - ให้อาหารที่สะอาด และปริมาณเหมาะสม - ลดปัจจัยการเกิดความเครียดอื่นๆ

betta Sep 24, 2019

เรามาเริ่มศึกษาปลากัดกันเลย กับบทความ10คำถามเรื่องการเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้เริ่มเต้น 1. วิธีสังเกตุเพศปลากัด ? A : มือใหม่หลายคนอาจจะงงและสงสัยว่าปลากัดตัวผู้ตัวเมียแยกยังไง สมัยที่ผมพึ่งหัดเลี้ยงใหม่ๆก็ดูไม่เป็นเหมือนกัน เอาละผมจะอธิบายแบบสั้นๆและเข้าใจง่าย ปลากัดตัวเมียท้องจะใหญ่กว่าตัวเมียและจะมีจุดขาวยื่นออกมาใต้ท้องปลา เรียกว่าไข่นำ และครีม หาง จะเล็กกว่าตัวเมีย  สำหรับตัวผู้นั้นจะมีครีม หาง ที่ใหญ่สง่ากว่าอย่างเห็นได้ชัด วิธีดูปลากัด ตัวเมีย กดเลย   2. กี่วันเปลี่ยนน้ำปลากัด ? A : โดยปกติประมาณ3วันถ้าไม่ได้เลี้ยงด้วยน้ำหมัก แต่ถ้าใช้น้ำหมักเลี้ยงปลาก็จะประมาณ5-7วัน   3.อาหารอนุบาลปลากัด ? A : ถ้าอยากให้รอดเยอะแนะนะเป็นพวกอาหารสดครับ ไรแดง.อาร์ทีเมียเป่า ส่วนอาหารผงไม่แนะนำครับ ยังไงก็สู้อาหารสดไม่ได้แน่นอนครับ ไม่มีฟาร์มที่ไหนใช้อาหารผงอนุบาลปลาอันนี้ไปสืบมาหลายสำนักแล้ว 4.ปลากัดกินอาหารแบบไหน ? A : สำปรับปลากัดที่โตเต็มวัยความยุ่งยากเรื่องอาหารไม่ใช่ปัญหาเหมือนการอนุบาลปลากัด อาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดก็สามารถหาซื้อให้ปลากินได้อาจจะสลับกับอาหารสดบ้าง เช่น ไรแดง,อาร์ทีเมีย,ลูกน้ำ,หนอนแดง,ไส้เดือนน้ำ ปลาจะได้ไม่เบื่อ ก็เหมือนกับคนจะกินอาหารสำเร็จรูปอย่างเดียวก็คงเบื่อแย่และก็ไม่มีต่อสุขภาพด้วย ปลาก็เหมือนกัน ใจเขาใจเรา   5.หลังจากได้ไข่แล้วทำยังไงต่อ ? A : หลังจากปลารัดกันและได้ไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ตัวเมียให้ไปอยู่นอกหวอด รอสักดึกๆประมาณ3-4ทุ่มก็ช้อนตัวเมียออกแบบนิ่งที่สุดเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจ สงสัยไหมว่าทำไมต้องรอดึกๆ เพราะตอนดึกปลาจะหลับแล้วเราก็ใช้วิธีลักตัวเมียออกเพื่อไม่ให้ตัวผู้ตกใจนั้นเอง ตัวผู้บางตัวเขาเซนซิทีฟต่อเรื่องพวกนี้ตกใจหน่อยกินไข่เรียบนะครับ และหลังจากลูกปลาฝักจากไข่เป็นตัวแล้วนับต่อไปอีกประมาณ4-7วัน สังเกตุลูกค้าถ้าดูลูกปลาเริ่มแข็งแรง  ก็เอาไปเทลงบ่อใหญ่แล้วค่อยให้อาหารอนุบาลลูกปลาครั้งแรกดูจากข้อ3    6.วิธีสังเกตุไข่ปลากัดในหวอด ? A : ไข่ปลากัดที่เป็นเม็ดขาวๆเหมือนเม็ดสาคูจับกลุ่มรวมกันภายในหวอด สำหรับมือใหม่อาจจะสังเกตุยากหน่อยนะครับ แรกๆก็แบบนี้หลังๆเริ่มชำนาญก็จะแยกออกได้ง่าย    7.แหล่งซื้อขายอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ? A : แหล่งใหญ่ๆก็จะมีตลาดจตุจักรกับสนามหลวง2 มีครบครับทั้งอุปกรณ์ อาหาร ยา โหล ปลากัดสวยๆ   8.เว็บประมูลปลากัด ? A : ตามfacebook ปัจจุบันมีหลายเพจมากครับ ก็ลองเลือกเอาตามใจชอบได้เลย เพจประมูลปลากัด    9.น้ำหมักปลากัด ? A : น้ำหมักปลากัดคือการนำเอาสีเสียดฝอย หรือใบหูกวางแห้งมาทำการหมักเพื่อในน้ำที่ได้จากการหมักไปใช้เลี้ยงปลา ทำไมต้องน้ำหมัก เพราะสีเสียดหรือใบหูกวางแห้งจะมีสารเทนนินทีไ่ด้จากการหมัก ซึ่งสารเทนนินตัวนี้มีฤทธิ์ยับยั้งแบททีเรีย ทำให้น้ำเสียช้าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อย ปลาจะคึกคักเป็นพิเศษ และยังทำให้หวอดของปลาเหนียวขึ้นอีกด้วย ไม่เชื่อก็ลองดูครับไม่ได้อวยแต่คนเลี้ยงปลากัดแถบทุกคนจะรู้จักสรรพคุณน้ำหมักดี ต้องลองแล้วจะรู้ว่าดีจริง   10.ปลากัดเลี้ยงรวมได้ไหม ? A : ได้ครับ แต่เป็นเป็นสถานที่กว้างและมีพืชน้ำเยอะหน่อยเพื่อให้ปลาได้มีที่ว่ายไล่กันและหลบซ่อนตัว เวลาวิ่งไล่จับกันเหนื่อยแล้ว  credit รูปจาก Phon Betta

betta May 30, 2019

-สังเกตที่สีของปลากัด ปลากัดตัวผู้นั้นจะมีสีเข้มกว่าปลากัดตัวเมีย ซึ่งตัวเมียจะมีลายพาดตามยาวของลำตัว 2-3 แถบ การดูสีจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลากัดมีอายุ 1.5-2 เดือนขึ้นไป -สังเกตที่ครีบและกระโดง ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้อง และกระโดงที่ยาวกว่าตัวเมีย -สังเกตที่ไข่นำ จะเป็นจุดสีขาวๆ ใต้ท้องปลากัดตัวเมีย ปลากัดตัวเมีย   ปลากัดตัวเมีย ขอบคุณรูปภาพจาก phon betta thailand